การออกแบบ
สำหรับการออกแบบในการเรียนรู้เบื้องต้น
จะให้นักเรียนเรียนรู้เฉพาะการออกแบบการแก้ปัญหาเท่านั้น
นั่นคือไม่รวมถึงการออกแบบหน้าจอ (User interface) หรือออกแบบฐานข้อมูล
(Database) หรืออื่นๆ วิธีการออกแบบการแก้ปัญหานั้น
นิยมทำอยู่ 3 ลักษณะ ได้แก่
1.การเขียนขั้นตอนวิธี (Algorithm)
2.การเขียนผังงาน (Flowchart)
3.การเขียนรหัสลำลอง (Pseudo code)
ในที่นี้จะกำหนดให้นักเรียนเรียนรู้เฉพาะการเขียนผังงานเท่านั้นซึ่งเป็นวิธีที่นิยมมากที่สุด
เพราะมองเห็นขั้นตอนและทิศทางการทำงานของโปรแกรมได้ง่ายกว่าวิธีอื่นๆ
นักเรียนพิจารณาผังงานของโปรแกรมหาพื้นที่สี่เหลี่ยมผืนผ้า ต่อไปนี้
จะเห็นว่าผังงานประกอบไปด้วยรูปที่มีลักษณะต่างๆ
กันหลายรูป ซึ่งแต่ละรูปจะมีข้อความอยู่ภายใน
แต่ละรูปจะมีลูกศรเชื่อมโยงจากบนลงมาล่าง ต่อไปเราจะศึกษาถึงรูปต่างๆ ว่ามีความหมายอย่างไร
ผังงาน (Flowchart)
ผังงาน คือ
การออกแบบวิธีการแก้ปัญหาของการเขียนโปรแกรมในลักษณะของแผนภาพและลูกศร
ด้วยสัญลักษณ์และทิศทางที่แน่นอน เป็นระบบ
มองเห็นขั้นตอนการทำงานได้ง่ายกว่าขั้นตอนวิธี
นิยมใช้ประโยคสัญลักษณ์หรือรหัสโปรแกรมที่เข้าใจง่ายเขียนไว้ในสัญลักษณ์
สำหรับรูปสัญลักษณ์แบบต่างๆ มีลักษณะเป็นสากลที่เข้าใจได้ตรงกัน
ซึ่งสถาบันมาตรฐานแห่งชาติอเมริกา (The American National Standard
Institute, ANSI) เป็นผู้กำหนดเอาไว้
มีรายละเอียดรูปแบบและความหมายที่ควรทราบ ดังนี้
ตารางที่ 4.1 สัญลักษณ์ที่ใช้ในการทำผังงาน
สัญลักษณ์
|
ชื่อเรียก
|
ความหมาย
|
![]() |
การทำงานด้วยมือ
(manual operation)
|
แทนจุดที่มีการทำงานด้วยแรงคน
|
![]() |
การนำเข้าข้อมูล-ออกโดยทั่วไป
(general input/output)
|
แทนจุดที่จะนำเข้าหรือออกจากระบบคอมพิวเตอร์โดยไม่ระบุชนิดของอุปกรณ์
|
![]() |
จานบันทึกข้อมูล
(magnetic disk)
|
แทนจุดที่นำข้อมูลเข้าหรือออกจากโปรแกรมด้วยจานบันทึกข้อมูล
|
![]() |
การนำข้อมูลเข้าด้วยมือ
(manual input)
|
แทนจุดที่จะนำเข้าข้อมูลด้วยมือ
|
![]() |
การแสดงข้อมูล
(display)
|
แทนจุดที่แสดงข้อมูลด้วยจอภาพ
|
![]() |
การทำเอกสาร
(document)
|
แทนจุดที่มีข้อมูลเป็นเอกสารหรือแสดงข้อมูลออกทางเครื่องพิมพ์
|
![]() |
การตัดสินใจ
(decision)
|
แทนจุดที่จะต้องเลือกปฏิบัติอย่างใดอย่างหนึ่ง
|
![]() |
การปฏิบัติงาน
(process)
|
แทนจุดที่มีการปฏิบัติงานอย่างใดอย่างหนึ่ง
|
![]() |
การเตรียมการ
(preparation)
|
แทนจุดกำหนดชื่อข้อมูลหรือค่าเริ่มต้นต่างๆ
|
![]() |
การเรียกโปรแกรมภายนอก
(external subroutine)
|
แทนจุดเรียกใช้โปรแกรมย่อย
ที่ไม่ได้อยู่ในโปรแกรมนั้น
|
![]() |
การเรียกใช้โปรแกรมภายใน
(internal subroutine)
|
แทนจุดเรียกใช้โปรแกรมย่อย
ที่อยู่ในโปรแกรมนั้น
|
![]() |
การเรียงข้อมูล
(sort)
|
แทนจุดที่มีการเรียงข้อมูลใหม่ตามข้อกำหนด
|
![]() |
ทิศทาง
(flow line)
|
แทนทิศทางขั้นตอนการดำเนินงานซึ่งจะปฏิบัติต่อเนื่องกันตามหัวลูกศรชี้
|
![]() |
หมายเหตุ
(annotation)
|
แทนจุดที่แสดงรายละเอียดเพิ่มเติม
หรือหมายเหตุของจุดต่างๆ ที่แสดงในผังงานด้วยสัญลักษณ์ไม่ชัดเจน
|
![]() |
การติดต่อทางไกล
(communication link)
|
แทนช่วงที่มีการติดต่อหรือย้ายข้อมูลด้วยระบบการติดต่อทางไกล
|
![]() |
จุดเชื่อมต่อ
(connector)
|
แทนจุดเชื่อมต่อของผังงานเมื่อใช้สัญลักษณ์เพื่อให้ดูง่าย
|
![]() |
จุดเชื่อมต่อหน้ากระดาษ
(off page connector)
|
แทนจุดเชื่อมต่อของผังงานเมื่อใช้สัญลักษณ์เพื่อให้ดูง่าย
|
![]() |
เริ่มต้นและลงท้าย
(terminal)
|
แทนจุดเริ่มต้นและลงท้ายของผังงานของโปรแกรมหลักและโปรแกรมย่อย
|
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น