18 ก.ค. 2558

ความสัมพันธ์ระหว่างเทคโนโลยีกับศาสตร์อื่นๆ

ความสัมพันธ์เทคโนโลยีกับศาสตร์อื่นๆ


            เทคโนโลยีเป็นความรู้สาขาหนึ่งของมนุษย์ว่าด้วยการประยุกต์ใช้ทรัพยากรต่าง ๆ ทั้งความรู้ 
วัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือ พลังงาน ทักษะต่าง ๆ ในการคิดแก้ปัญหา ออกแบบและสร้างสิ่งใหม่ ๆ เพื่อ
สนองความต้องการของมนุษย์ ดังนั้น กระบวนการเทคโนโลยีจึงต้องอาศัยความรู้จากสาขาวิชาอื่น ๆ 
มาสนับสนุน เช่น ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ ช่วยอธิบายหลักทางวิทยาศาสตร์ของสิ่งต่าง ๆ ความรู้ทาง
ศิลปะช่วยวาดภาพหรือเขียนโครงร่างของสิ่งที่คิดประดิษฐ์ให้เห็นเป็นรูปธรรม หรือความรู้สาขามนุษย์
ช่วยให้เข้าใจความต้องการวัฒนธรรมของสังคมมนุษย์ สิ่งเหล่านี้ช่วยสนับสนุนการทำงานทางเทคโนโลยี

            ความสัมพันธ์ของเทคโนโลยีกับมนุษย์ศาสตร์

            การทำงานตามกระบวนการทางเทคโนโลยีเริ่มจากวิเคราะห์ความต้องการของตน สื่อสารความ
ต้องการให้ผู้อื่นเข้าใจ และเสนอแนวทางแก้ปัญหา ซึ่งต้องอาศัยทักษะการพูด อ่านและเขียน ลักษณะ

พฤติกรรมการเรียนรู้เทคโนโลยีต้องอาศัยทักษะทางภาษาซึ่งเป็นศาสตร์ของมนุษย์ศาสตร์ ดังนี้

                1. ทักษะการฟัง พูดได้อย่างมีประสิทธิภาพ และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นทางเทคโนโลยีกับ
นอื่น ๆ ในการทำกิจกรรม

                2. ทักษะการเขียน นำเสนอข้อมูลเชิงสัญลักษณ์ หรืออธิบายแนวคิดของตน

                3. ทักษะการสรุป กิจกรรมเทคโนโลยีเกี่ยวข้องกับการร่างโครงการและการอธิบายกระบวนการ 
ทำงานจนได้ชิ้นงาน การเขียนข้อสรุปจึงเป็นสิ่งสำคัญของเทคโนโลยี

            ความสัมพันธ์ของเทคโนโลยีกับสังคมศาสตร์

            ผู้เรียนต้องเข้าใจประวัติความเป็นมาทั้งอดีตจนถึงปัจจุบันและเทคโนโลยีในอนาคตช่วยสร้างสรรค์
มนุษยชาติ จึงต้องให้ผู้เรียนตระหนักถึงหน้าที่ และความรับผิดชอบในฐานะสมาชิกที่ดีของสังคม โดยกิจกรรม

                - สำรวจบทบาทเทคโนโลยีต่อสังคม

                - การจัดการทรัพยากรธรรมชาติให้สนองความต้องการได้อย่างฉลาด
                - เข้าใจข้อจำกัดของปัจจัยต่าง ๆ ทางสังคม ค่านิยม โครงสร้างสังคม นำมาประกอบ

การตัดสินใจในกิจกรรมทางเทคโนโลยี

                - วิจัย ศึกษา วิเคราะห์การใช้เทคโนโลยีในสังคม ส่งผลกระทบต่อสังคมอย่างไรบ้าง
                - การตระหนักถึงการใช้ทรัพยากร สิ่งแวดล้อมในธรรมชาติ และวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน
                - วิจัยศึกษา วิเคราะห์ผลกระทบการใช้เทคโนโลยีต่อสังคม

ที่มา  : https://sites.google.com/site/thamondesign5/home/thekhnoloyi-khux-xxa-ri/khwam-samphanth-thekhnoloyi-kab-sastr-xun

                                                             

ซอฟแวร์ที่ใช้ในการออกแบบ 3 มิติ



ภาพ 3 มิติ

ภาพ3 มิติ คือ ภาพที่มีการแสดงรูปทรง ความกวาง ความยาว ความสูง และความลึก มีลักษณะภาพแสดงปริมาตร
ของสิ่งที่อยู่ในภาพนั้นๆ 
ภาพ3 มิติที่ใช้ในการเขียนแบบ มีด้วยกัน 4 ชนิด คือ

ภาพออบบลิก(OBLIQUE)


- โครงร่างของภาพประกอบด้วยสามเส้นคือ เส้นแนวนอน เส่นแนวดิ่ง และเส้นเอียง45องศา
- ความกว้างและสูงมีขนาดเท่าของจริงโดยวัดเป็นอัตราส่วน ส่วนความลึกจะมีขนาดเพียงครึ่งหนึ่งขนาดจริง
- ขอบของชิ้นงานที่ถูกบังหรือมองไม่เห็น จะเขียนแทนด้วยเส้นประ
- โครงสร้างของภาพ OBLIQUEสามารถใช้ไม้บรรทัดทั่วๆไป หรือไม้บรรทัดมุม45ได้ จึงเขียนได้ง่าย
- มีรูปร่างไม่ค่อยหมือนจริงแต่ใช้พท.ในการเขียนน้อยเพระมีขนาดความลึกเพียงครึ่งหนึ่งของขนาดจริง

ภาพไดเมตริก(DIMETRIC)



- โครงสร้างประกอบด้วยสามเส้นคือ เส้นเอียง 7 องศา เส้นแนวดิ่ง และเส้นเอียง 42 องศา
- ขนาดความกว้าง สูง เท่าของจริงโดยวัดเป็นอัตราส่วนความลึกจะมีขนาดเพียงครึ่งหนึ่งของขนาด

จริงเหมือน OBLIQUE
- ขอบของชิ้นงานที่ถูกบังหรือมองไม่เห็น จะเขียนแทนด้วยเส้นประ
- โครงสร้างมีการใช้เส้นทำมุม 7 องศาและ 42 องศา จึงต้องใชไม่บรรทัดปรับมุม
- โครงสร้างภาพดูเหมือนจริงกว่า OBLIQUE

ภาพไอโซเมตริก(ISOMETRIC)




- โครงสร้างประกอบด้วยสามเส้นคือ เส้นเอียง30องศาสองเส้น และเส้นแนวดิ่ง
- ขนาดความกว้าง สูง และลึกเท่าของจริงโดยวัดเป็นอัตราส่วน
- ขอบของชิ้นงานที่ถูกบังหรือมองไม่เห็น จะเขียนแทนด้วยเส้นประ
- โครงสร้างมีการใช้เส้นทำมุม30องศาและทำให้กินพท.ในการเขียนมาก แต่สามารถเขียนได้ง่าย

ภาพเพอร์สเปกทีฟ (PERSPECTIVE)
  


- โครงสร้างประกอบด้วยสามเส้นคือ เส้นเอียงสองเส้น และเส้นเส้นแนวดิ่ง
- มีจุดปลายสายตาที่มองเห็น เรียกว่า VINISHING POINT (VP) ตั้งแต่ 1 - 3 จุด
- มีความเหมือนจริง ใช้มากในงานสถาปัตยกรรม





ที่มา  : http://www.supradit.com/contents/drawing/s_less060.htm






ซอฟแวร์ที่ใช้ในการออกแบบ 3 มิติ



ภาพ 3 มิติ

ภาพ3 มิติ คือ ภาพที่มีการแสดงรูปทรง ความกวาง ความยาว ความสูง และความลึก มีลักษณะภาพแสดงปริมาตร
ของสิ่งที่อยู่ในภาพนั้นๆ 
ภาพ3 มิติที่ใช้ในการเขียนแบบ มีด้วยกัน 4 ชนิด คือ

ภาพออบบลิก(OBLIQUE)


- โครงร่างของภาพประกอบด้วยสามเส้นคือ เส้นแนวนอน เส่นแนวดิ่ง และเส้นเอียง45องศา
- ความกว้างและสูงมีขนาดเท่าของจริงโดยวัดเป็นอัตราส่วน ส่วนความลึกจะมีขนาดเพียงครึ่งหนึ่งขนาดจริง
- ขอบของชิ้นงานที่ถูกบังหรือมองไม่เห็น จะเขียนแทนด้วยเส้นประ
- โครงสร้างของภาพ OBLIQUEสามารถใช้ไม้บรรทัดทั่วๆไป หรือไม้บรรทัดมุม45ได้ จึงเขียนได้ง่าย
- มีรูปร่างไม่ค่อยหมือนจริงแต่ใช้พท.ในการเขียนน้อยเพระมีขนาดความลึกเพียงครึ่งหนึ่งของขนาดจริง

ภาพไดเมตริก(DIMETRIC)



- โครงสร้างประกอบด้วยสามเส้นคือ เส้นเอียง 7 องศา เส้นแนวดิ่ง และเส้นเอียง 42 องศา
- ขนาดความกว้าง สูง เท่าของจริงโดยวัดเป็นอัตราส่วนความลึกจะมีขนาดเพียงครึ่งหนึ่งของขนาด

จริงเหมือน OBLIQUE
- ขอบของชิ้นงานที่ถูกบังหรือมองไม่เห็น จะเขียนแทนด้วยเส้นประ
- โครงสร้างมีการใช้เส้นทำมุม 7 องศาและ 42 องศา จึงต้องใชไม่บรรทัดปรับมุม
- โครงสร้างภาพดูเหมือนจริงกว่า OBLIQUE

ภาพไอโซเมตริก(ISOMETRIC)




- โครงสร้างประกอบด้วยสามเส้นคือ เส้นเอียง30องศาสองเส้น และเส้นแนวดิ่ง
- ขนาดความกว้าง สูง และลึกเท่าของจริงโดยวัดเป็นอัตราส่วน
- ขอบของชิ้นงานที่ถูกบังหรือมองไม่เห็น จะเขียนแทนด้วยเส้นประ
- โครงสร้างมีการใช้เส้นทำมุม30องศาและทำให้กินพท.ในการเขียนมาก แต่สามารถเขียนได้ง่าย

ภาพเพอร์สเปกทีฟ (PERSPECTIVE)
  


- โครงสร้างประกอบด้วยสามเส้นคือ เส้นเอียงสองเส้น และเส้นเส้นแนวดิ่ง
- มีจุดปลายสายตาที่มองเห็น เรียกว่า VINISHING POINT (VP) ตั้งแต่ 1 - 3 จุด
- มีความเหมือนจริง ใช้มากในงานสถาปัตยกรรม





ที่มา  : http://www.supradit.com/contents/drawing/s_less060.htm






ซอฟแวร์ที่ใช้ในการออกแบบ 2 มิติ


การออกแบบ 2 มิติ

            
          หมายถึงลักษณะของขนาดกว้าง  ยาว  สูง ต่ำและลึก  ของวัตถุสิ่งของ  หรือสิ่งก่อสร้างที่ต้องการออกแบบ  งานออกแบบอาจใช้มิติ   ที่แตกต่างกันเพื่อความเหมาะสมกับงานได้  ดังนี้ 
การออกแบบ 2 มิติ คือการออกแบบที่เขียนลงบนแผ่นกระดาษ   ผ้าใบ  หรือวัสดุอื่นที่มีพื้นระนาบเรียบ   แสดงความกว้าง  ยาว  สูง  ต่ำ  ของวัตถุสิ่งของ  หรือทิวทัศน์ ดูแล้วมีระยะใกล้ ไกล ให้ความลึกสมจริง ส่วนประกอบที่ทำให้เกิดความสมจริงมีหลายอย่าง คือ 
1. รูปทรงธรรมชาติ  เช่น  คน  สัตว์  สิ่งของที่มนุษย์เคยชิน   เพราะพบเห็นอยู่เสมอในชีวิตประจำวันวัน   ในการเขียนแบบถึงแม้จะเขียนเพียงเส้นรอบนอก (Out Line) เพียงอย่าง เดียวโดยไม่ต้องแสดงปริมาตรหรือความตื้น  ลึก  หนา บาง  ก็มีความรู้สึกว่ารูปที่เขียนมีปริมาตร

2. เส้นและทิศทางของเส้นต่าง ๆ จะสร้างความรู้สึกแตกต่างกัน  เส้นที่ขนานกันบนแผ่นภาพจะให้ความรู้สึกเป็น  2  มิติ  ส่วนเส้นเฉียงหรือเส้นทแยง  ทำให้ผู้ดูรู้สึกว่า ภาพนั้นมีความลึกมีระยะเป็น 3 มิติ  โดยเฉพาะเส้นเฉียงที่มีลักษณะโค้งจะยิ่งให้ความรู้สึกว่ารูปนี้มีความลึกมากขึ้น 
3. น้ำหนักอ่อนแก่หรือความหนักเบาของเส้น   เส้นที่มีน้ำหนักเข้มจะให้ความรู้สึกที่ อยู่ใกล้กว่าเส้นที่มีน้ำหนักอ่อน
4. ขนาดของรูปทรง  ขนาดต่าง ๆ  ของรูปทรงมีผลต่อความรู้สึกใกล้ไกล  รูปทรงที่มีขนาดใหญ่จะให้ความรู้สึกอยู่ใกล้   ส่วนรูปทรงที่มีขนาดเล็กกว่าจะให้ความรู้สึกว่าอยู่ไกล 
5.  ความคมชัด ความคมของเส้นหรือรูปทรงให้ความรู้สึกใกล้  ไกล   แตกต่างกัน
6.  การซ้อนกัน  รูปร่างหรือรูปทรงที่อยู่ข้างหน้าจะให้ความรู้สึกใกล้   ส่วนรูปร่าง หรือรูปทรงที่อยู่ซ้อนกันกับส่วนที่ถูกซ้อนจะให้ความรู้สึกไกลออกไป
7.  ความเข้มของสี   รูปร่างหรือรูปทรงที่มีสีเข้มจะให้ความรู้สึกว่าอยู่ใกล้  ส่วนสีที่หม่นหรือจางลงจะให้ความรู้สึกว่าอยู่ไกลออกไป  
8.  ลักษณะผิว  ลักษณะผิวหยาบจะให้ความรู้สึกอยู่ใกล้  ส่วนลักษณะผิวที่ละเอียดจะให้ความรู้สึกว่าอยู่ไกลออกไป 
9.  เส้นเดินทางทัศนียวิทยา   การสร้างเส้นดินทางในลักษณะเหมือนจริงโดยใช้หลักทัศนียวิทยา ( Perspective ) จะสร้างความรู้สึกให้มีระยะใกล้  ไกล  ของรูปร่างและรูปทรงต่าง ๆ 





เทคโนโลยีสะอาด



เทคโนโลยีสะอาด

การขยายตัวของโรงงานอุตสาหกรรมก่อให้เกิดปัญหามลภาวะต่าง ๆและกำลังเป็นปัญหาสิ่งแวดล้อมที่ส่งผลกระทบอย่างกว้างขวางไปทั่วโลกในปัจจุบัน ดังนั้นในช่วงทศวรรษที่ผ่านมาจึงมีการพัฒนาหลักการของเทคโนโลยีสะอาด (Cleaner Technology) การผลิตที่สะอาด (Cleaner Production) การป้องกันมลพิษ (Promotion Prevention) รวมไปถึงการลดการเกิดของเสียให้น้อยที่สุดในกระบวนการผลิต (Waste Minimization) ซึ่งเทคโนโลยีต่าง ๆ เหล่านี้ได้ถูกนำมาใช้เพื่อลดปัญหาสิ่งแวดล้อมในภาคอุตสาหกรรม ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับความต้องการของภาคอุตสาหกรรม ว่าจะเลือกใช้วิธีการใดในกระบวนการผลิตของตนเอง

1. เทคโนโลยีสะอาด (Clean Technology)
เทคโนโลยีสะอาด คือ กลยุทธ์ที่ใช้ในการผลิตเชิงอุตสาหกรรม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้วัตถุดิบ และพลังงานในการผลิต ทำให้สามารถลดต้นทุน โดยการปรับปรุงผลิตภัณฑ์ บริการ และกระบวนการผลิตอย่างต่อเนื่อง เพื่อลดของเสียจากแหล่งกำเนิด อันจะช่วยลดภาระในการกำจัดของเสีย รวมถึงก่อให้เกิดการใช้พลังงาน ทรัพยากร และวัตถุดิบต้นทุนอย่างคุ้มค่า อันเป็นการสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับผู้ประกอบการ ช่วยเสริมสร้างความสามารถในการแข่งขันในตลาดโลก อีกทั้งยังพัฒนาความสามารถ และประสิทธิภาพของธุรกิจ และเป็นจุดเริ่มต้นในการก้าวสู่มาตรฐาน ISO 14000 ของอุตสาหกรรมอีกด้วย



1.1 หลักการของเทคโนโลยีสะอาด
หลักการของเทคโนโลยีสะอาด มุ่งเน้นไปที่การแก้ปัญหาที่ต้นเหตุ คือ การลดการใช้พลังงาน การใช้น้ำ และทรัพยากรธรรมชาติอื่น ๆ ซึ่งหลักการของเทคโนโลยีสะอาดจะเน้นที่การป้องกันมากกว่าการแก้ปัญหา โดยลดของเสียที่เกิดขึ้นในกระบวนการต่าง ๆ ให้น้อยที่สุด โดยวิธีการแยกสารพิษที่เกิดขึ้นจากการบวนการผลิตในทุกขั้นตอน ซึ่งประกอบด้วยการเปลี่ยนแปลงกระบวนการผลิต การเปลี่ยนแปลงวัตถุดิบ ที่ทำให้เกิดผลพลอยได้ที่ไม่เป็นอันตราย รวมทั้งการลดปริมาณของเสียที่เกิดขึ้นโดยกระบวนการนำกลับมาใช้ซ้ำ (Reuse) หรือ การนำกลับไปใช้ใหม่ (Recycle) จนกระทั่งของเสียเหล่านั้นไม่สามารถนำกลับมาใช้ประโยชน์ได้อีก จึงนำไปบำบัดหรือกำจัดตามหลักวิชาการต่อไป

จากที่กล่าวมาข้างต้น สามารถสรุปหลักการของเทคโนโลยีสะอาดได้ดังนี้
1.       การลดมลพิษที่แหล่งกำเนิด แบ่งเป็น 2 แนวทางใหญ่ ๆ คือ การเปลี่ยนแปลงผลิตภัณฑ์ และ การเปลี่ยนแปลงกระบวนการผลิต
1.1    การเปลี่ยนแปลงผลิตภัณฑ์ (Product Reformulation) อาจทำได้โดยการออกแบบผลิตภัณฑ์ให้มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด หรือการออกแบบให้มีอายุการใช้งานของผลิตภัณฑ์ได้นานขึ้น
-      การเปลี่ยนแปลงกระบวนการผลิต (Process Change) แบ่งได้ 3 กลุ่ม อันประกอบด้วย
-      การเปลี่ยนแปลงวัตถุดิบ (Input Material Change) โดยเลือกใช้วัตถุดิบที่มีคุณภาพ ลดหรือเลิกการใช้วัตถุดิบที่เป็นอันตราย เพื่อหลีกเลี่ยงการปนเปื้อนของสารอันตรายเข้าไปในกระบวนการผลิต และพยายามใช้วัตถุดิบที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้
-      การเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยี (Technology Improvement) เป็นการเพิ่มศักยภาพการผลิตหรือการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า ได้แก่ การปรับปรุงแผนผังโรงงาน การเพิ่มระบบอัตโนมัติ การปรับปรุงเครื่องจักรและอุปกรณ์การผลิต รวมถึงการนำเทคโนโลยีใหม่ ๆ มาใช้ เพื่อก่อให้เกิดของเสียน้อยที่สุด
-      การปรับปรุงกระบวนการดำเนินงาน (Operation Management) เป็นการบริหารระบบการวางแผนและควบคุมการผลิต เพื่อเพิ่มศักยภาพของกระบวนการผลิต ให้สามารถลดต้นทุนในการผลิตและลดการก่อมลพิษทางสิ่งแวดล้อม โดยกำหนดให้มีขั้นตอนการผลิต กระบวนการทำงาน กระบวนการบำรุงรักษา รวมไปถึงการจัดการระบบ การบริหารงานในโรงงานอย่างชัดเจน
2.        กระบวนการนำกลับมาใช้ใหม่ แบ่งออกได้ 2 แนวทางคือ
2.1    การใช้ผลิตภัณฑ์หมุนเวียน โดยการนำวัตถุดิบที่ไม่คุณภาพกลับมาใช้ประโยชน์ หรือ การใช้ประโยชน์จากสารหรือวัสดุที่ปนอยู่กับของเสีย โดยการนำมาใช้ในกระบวนการผลิตเดิม หรือ กระบวนการผลิตในขั้นตอนอื่น
2.2    การใช้เทคโนโลยีหมุนเวียน เป็นการนำเอาของเสียผ่านกระบวนการต่าง ๆ เพื่อนำทรัพยากรกลับมาใช้อีก
 แนวคิดของเทคโนโลยีสะอาด คือ การป้องกันมลพิษที่แหล่งกำเนิด และการลดปริมาณสารเคมีที่ใช้ให้น้อยที่สุด โดยทำได้ตามขั้นตอนที่เรียงลำดับความสำคัญจากมากไปน้อย ดังนี้
  • การลดที่แหล่งกำเนิด
  • การใช้หมุนเวียน
  • การบำบัด
  • การปล่อยทิ้ง
การดำเนินการตามหลักการของเทคโนโลยีสะอาด คือ จะเน้นการลดมลพิษที่ต้นกำเนิดมากกว่าการแก้ปัญหาที่ปลายทาง กล่าวคือ ลดปริมาณการใช้ทรัพยากรลง โดยใช้หลักการบริหารจัดการอย่างมีคุณภาพเพื่อให้เกิดของเสียน้อยที่สุด ของเสียที่เกิดขึ้น ต้องมีการนำกลับมาใช้ใหม่ เพื่อลดของเสียที่จะส่งไปสู่ขั้นตอนการบำบัดของเสียที่นำไปบำบัดผ่านกระบวนการที่มีประสิทธิภาพจึงสามารถปล่อยสู่สิ่งแวดล้อมได้
การประยุกต์ใช้หลักการเทคโนโลยีสะอาด ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน คือ
1)      การวางแผนและการจัดองค์กร (Planning and Organization)
2)      การประเมินเบื้องต้น (Pre Assessment)
3)      การประเมินผล (Assessment)
4)      การศึกษาความเป็นไปได้ (Feasibility)
5)      การลงมือปฏิบัติ (Implementation)

หลังจากนำเทคโนโลยีสะอาดมาใช้ในภาคอุตสาหกรรม ต้องมีการวางแผนและจัดการ มีการสำรวจข้อมูล ทำการประเมินเบื้องต้น และทำการประเมินในขั้นตอนต่อมา โดยในขั้นตอนการประเมินเบื้องต้นจะเกี่ยวข้องกับการสร้างแผนภาพกระบวนการผลิต พิจารณาการป้อนเข้าและการจ่ายออกของวัตถุดิบ ของแต่ละหน่วยปฏิบัติการ จัดทำสมดุลมวลสาร ทำให้ทราบปริมาณของเสียที่เกิดขึ้นในแต่ละขั้น รวมทั้งทำให้สามารถวิเคราะห์สาเหตุการเกิดของเสียอันนำไปสู่กระบวนการปรับปรุง เปลี่ยนแปลงเพื่อลดของเสียที่เกิดขึ้น โดยทางเลือกที่นำเสนอต้องมีความเป็นไปได้ทางเศรษฐศาสตร์ ลงทุนไม่สูง และสามารถคืนทุนได้ในระยะสั้น เมื่อวิธีการทางสิ่งแวดล้อมสอดคล้องกับแนวคิดทางเศรษฐศาสตร์จึงดำเนินการ และต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่อง เพื่อก่อให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนต่อไป



1.2 ตัวอย่างภาคอุตสาหกรรมที่มีการนำเทคโนโลยีสะอาดมาใช้

บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) ทุ่มงบ    กว่า 1,200 ล้านบาท เปิดตัวเทคโนโลยีสะอาด หอเผาระบบปิดระดับพื้นดิน และระบบดูดกลับไอไฮโดรคาร์บอน”  เพื่อดูแลสิ่งแวดล้อมและระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน โดยนำร่องที่จังหวัดระยอง หวังให้เป็นอุตสาหกรรมนิเวศต้นแบบของไทย
นายอนนต์ สิริแสงทักษิณ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท พีทีที โกบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) หรือ พีทีที จีซี เปิดเผยว่า ทาง พีทีที จีซี ได้ติดตาม และสอบถามปัญหาของชาวบ้านในพื้นที่อย่างต่อเนื่อง เมื่อทราบถึงปัญหา จึงตัดสินใจสร้างหอเผาระบบปิด ด้วยงบประมาณกว่า 500 ล้านบาท ที่สามารถเผาไหม้ได้อย่างหมดจด ไม่มีเขม่าควันและแสง และมีผนังที่ดูดซับเสียงและความร้อน มองว่าการลงทุนครั้งนี้ เพื่อประโยชน์เชิงนิเวศ และเป็นจุดเริ่มต้นของอุตสาหกรรมสีเขียว

ครั้งนี้เป็นการเปิดดำเนินการหอเผาระบบปิดระดับพื้นดิน และระบบดูดกลับไอไฮโดรคาร์บอน นำร่องที่จังหวัดระยอง ด้วยงบประมานลงทุนกว่า 1,200 ล้านบาท เพื่อเป็นการนำเทคโนโลยีที่ได้มาตรฐานและเป็นที่ยอมรับในระดับสากล มาใช้ในการจัดการด้านสิ่งแวดล้อม ซึ่งมีระบบควบคุมการทำงานอัตโนมัติตลอด 24 ชั่วโมง จึงมีความปลอดภัย และเป็นการส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม ทำให้ภาคอุตสาหกรรมกับชุมชนโดยรอบสามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างกลมกลืน โดยถือว่าเป็นเทคโนโลยีสะอาดแห่งแรกในประเทศไทย และใหญ่ที่สุดในเอเชียด้วย


ที่มา  :  http://www.environnet.in.th/2014/?p=8145