7 ก.ค. 2559

เสียงจากเด็กถึงผู้ใหญ่ ถึงเวลา "เปลี่ยน" ระบบการศึกษาไทย


การศึกษาไทยในยุคปัจจุบัน มักเกิดคำถามหลากหลายว่า 
ทุกวันนี้เรามาถูกทางแล้วหรือยัง

     ในเมื่อประเทศไทยลงทุนกับประมาณการศึกษาอย่างก้าวกระโดดในระยะเวลา 10 ปี
โดยมีอัตราส่วนงบประมาณที่เพิ่มขึ้นปีละ 7% หรือ 20,000 ล้านบาท แต่ผลสัมฤทธิ์
ทางการศึกษาของเด็กและเยาวชนกลับสวนทาง จากการทดสอบPISA ในปี 2012 พบว่า
มีนักเรียนไทยเกือบครึ่ง หรือ 49.7% ที่ได้คะแนนในวิชาคณิตศาสตร์อยู่ในระดับ 1
หรือต่ำกว่า ในขณะที่คะแนนมาตรฐานที่ผ่านเกณฑ์ควรอยู่ในระดับ 2 ขึ้นไป
รวมถึงปัญหาทักษะการอ่านที่ยังอยู่ในระดับที่ต่ำซึ่งส่งผลต่อการเรียนรู้ในวิชาอื่นทั้งหมด
     เวทีวิชาการ “อภิวัฒน์การเรียนรู้...สู่จุดเปลี่ยนประเทศไทย” จัดโดยสำนักงาน
ส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน(สสค.)และสำนักงานกองทุนสนับสนุน
การสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.) เมื่อวันที่ 6-8 พฤษภาคม ที่อิมแพคเมืองทองธานี ได้มีเวที
สะท้อนเสียงของเด็กเยาวชนถึงระบบการศึกษาไทยไว้อย่างน่าสนใจ 
 เริ่มจากเด็กในระบบการศึกษาที่มีเส้นทางเดินเข้าสู่รั้วมหาวิทยาลัย น.ส.ธิดารัตน์กุลแก้ว
ร.ร.รัตนโกสินทร์สมโภช บางขุนเทียน
 
สะท้อนว่า การเรียนในระบบสายสามัญทุกวันนี้มี
การแข่งขันที่สูงมาก นำมาซึ่งวงจรอุบาทว์ และค่านิยมเรียนพิเศษ ตรงนี้ไม่ใช่เด็กที่กด
ดันแต่พ่อแม่ก็คอยเป็นกังวล โดยเฉพาะค่าเรียนพิเศษ ที่ต้องเสียเดือนละไม่ต่ำกว่า 2,000-
3,000 บาท พ่อแม่ก็ยอมจ่ายเพื่อให้ลูกมีโอกาสเข้ามหาวิทยาลัยที่ดี เพราะเชื่อว่าจะได้
งานทำที่ดี แต่การเรียนที่เป็น
อยู่เป็นการเรียนเพื่อสอบ เหมือนกับจัดการศึกษาแบบรองเท้าเบอร์เดียวที่บังคับให้ต้อง
เรียนในกรอบไม่สามารถให้คำตอบได้ว่า ใช่สิ่งที่ต้องการหรือไม่ หรือถ้าเดินออกจากเส้น
ทางแล้วก็ต้องหลุดออกจากนอกระบบ จึงเสมือนกรอบที่ปิดกั้นเด็กว่า หากคุณเดิน
ออกนอกกรอบก็เหมือนกับคุณได้เดินออกจากเส้นทางชีวิตไปเลย ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าเศร้า
     อาร์ม ปราชญ์ ปราดเปรื่อง นักเรียนสายกีฬา ร.ร.บางละมุง จ.ชลบุรี เล่าว่า “ผมเป็น
เด็กเรียนไม่เก่งและไม่ชอบกีฬา แต่พอเรียนทั้งสองอย่างควบคู่กันทำให้พบว่าผมเรียน
กีฬาได้ดีกว่า จึงไม่เลือกเรียนสายสามัญ  ถ้าถามว่าอยากได้การศึกษาแบบไหน
ขอบอกเลยว่า อยากได้การศึกษาที่เยาวชนต้องการสามารถตอบสนองตามความถนัด
ในแต่ละบุคคล เพราะคนเรามีความถนัดต่างกัน ไม่ใช่ถูกยัดเยียดให้เรียนเหมือนกัน
ทั้งที่เราแตกต่างกัน”
     ขณะที่ เบียร์” ชิดดนัย ศรีเที่ยงตรง เด็กนอกระบบ จ.ขอนแก่น เล่าถึงแง่มุมที่
น่าสนใจว่าไม่อยากให้มองว่า เด็กแว้นนั้นไม่ดี การที่เราแว้นไปวันๆ ก็เนื่องจากต้อง
การรวมกลุ่มกันเพื่อปรึกษาปัญหาในครอบครัวก็เท่านั้น เพราะที่ผ่านมาครอบครัว
ไม่สามารถให้คำปรึกษาอะไรพวกเราได้เลยถ้าหากสังคมให้โอกาสได้มีกิจกรรมทำ 
เช่น ซ่อมรถ ทำร้านขนม คงไม่คิดที่จะแว้นซิ่งรถอย่างเดียวแน่นอน
      “ที่บอกว่า พวกผมไม่รู้จักร่ำเรียน ผมอยากบอกว่าเราถูกปิดกั้นจากสังคมที่มอง
ว่าเป็นเด็กไม่ดีอยากขอสังคมให้โอกาส และการเรียนฟรี 15 ปี มันฟรีเฉพาะหนังสือ
แต่ค่าเทอมก็ต้องออกเองเมื่อไม่มีเงิน สุดท้ายก็ไม่ได้เรียน กลับไปสู่วังวนแบบเดิมๆอีก”
 รศ.ดร.สมพงษ์  จิตระดับ คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวสะท้อนมุม
มองที่ได้จากเสียงเด็กและเยาวชนว่า จากการทำโพลที่สสค.ร่วมกับมหาวิทยาลัย
อัสสัมชัญในเดือนเมษายนที่ผ่านมาพบว่า เด็กและเยาวชน 53% สะท้อนการเรียน
การสอนในปัจจุบันว่าเป็นการสอนที่ เริ่มต้นจากความรู้ในหนังสือและจบลงที่ข้อสอบ
เด็กไทยเรียนหนักมากที่สุดในโลกแต่ไม่สามารถนำความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวันได้
และที่น่าสนใจเด็กอยากตั้งคำถามถึงครูยุคนี้ว่า ทำไมสอนในห้องเรียนไม่รู้เรื่อง
แต่สอนพิเศษกลับรู้เรื่องหรือ ทำไมครูไม่หาวิธีการสอนที่สนุกไม่น่าเบื่อ หรือทำไม
สอนต้องอ่านตามหนังสือ การเรียนรู้ของเด็กไทยจึงไม่มีความสุขกับการเรียนและยัง
มีปัญหาโอกาสและมาตรฐานการศึกษาของไทยไม่เท่าเทียมกัน
เสียงสะท้อนของเด็กและเยาวชนไทยที่มีต่อระบบการศึกษา จึงเป็น “คำถาม”
ถึงระบบการจัดการศึกษา
    ดร.กฤษณพงศ์ กีรติกร รองประธานกรรมการส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพ
เยาวชน
 
กล่าวไว้ในช่วงท้ายของเวทีวิชาการนี้ว่า มีตัวชี้วัดสำคัญเพื่อสะท้อนประสิทธิ
ภาพการจัดการศึกษาที่ทั่วโลกให้การยอมรับอยู่ 4 ด้าน ซึ่งพบว่าประเทศไทยยังมีปัญหา
ทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ 1.ทรัพยากรด้านการศึกษาไทยลงทุนด้านการศึกษาเป็นอันดับ 2 ของ
โลก แต่กลับลงทุนพัฒนาผู้เรียนเพียง 4.5% 2. ปัญหาเด็กด้อยโอกาสที่ทำให้ไทยติด
อันดับรั้งท้ายทางการศึกษาเพราะมีเด็กที่ยังไม่เข้าถึงการศึกษาภาคบังคับถึง10%
และเด็กที่หลุดออกจากระบบการศึกษา 3-5 ล้านคนซึ่งกระทบต่ออัตราการขยายตัว
ทางเศรษฐกิจ
ของประเทศไทยสูงถึง3%ต่อปี  3.ผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาของเด็ก
ไทยเกือบครึ่งของประเทศก็อยู่ในระดับต่ำกว่ามาตรฐาน  และ 4.ผลลัพท์ด้านสังคม
และเศรษฐกิจ ที่คุณภาพแรงงานไทย 80% ยังเป็นแรงงานไร้ฝีมือ  
    สำหรับข้อเสนอถึงระบบบริหารจัดการใหม่ซึ่งได้จากการสังเคราะห์ความรู้จาก
ประเทศที่ประสบผลสำเร็จทางการศึกษา และจากเวทีระดมความเห็นของทุกภาค
ส่วนในสังคมเพื่อเป็นคานงัดสำคัญในการยกระดับคุณภาพการศึกษา ประกอบด้วย
 1 การยกระดับคุณภาพครู เพื่อสร้างจุดเปลี่ยนเรียนรู้ในห้องเรียนกระบวนการผลิต
ครูต้องมีการควบคุมคุณภาพและการพัฒนาครูที่ต้องมีมาตรการสนับสนุน
2 การลดช่องว่างคุณภาพโรงเรียน เพื่อสร้างโอกาสให้เด็กในทุกพื้นที่เข้าถึงโรงเรียน
ดีมีคุณภาพ ด้วยการปลดล็อกกฎระเบียบเพื่อทำให้เกิดการกระจายอำนาจให้อิสระ
การบริหารจัดการโรงเรียนบนความรับผิดชอบต่อการตรวจสอบผลงาน
ขยายผลระบบดูแลช่วยเหลือเด็กด้อยโอกาส ผ่านระบบประกบตัวดูแลเด็กด้อย
โอกาสในโรงเรียนและระบบฐานข้อมูลเด็กด้อยโอกาสเพื่อวางทิศทางการดูแลในทุกพื้นที่
     4 สวัสดิการหนังสือสำหรับเด็กแรกเกิดและส่งเสริมให้วัฒนธรรมการอ่าน 5 ปรับปรุง
หลักสูตร กระบวนการเรียนการสอนเพื่อปลูกฝังทัศนคติและทักษะการทำงานที่ดี 
การศึกษาที่แท้จริงต้องนำไปสู่การมีงานทำจึงต้องสร้างกำลังคนรุ่นใหม่ที่พร้อมต่อโลก
การทำงาน ซึ่งยุทธศาสตร์สำคัญที่จะสำเร็จได้ต้องเริ่มจากการปฏิรูปการเรียนรู้ในระดับ
พื้นที่เพื่อให้ทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วมในลักษณะ“จังหวัดจัดการตนเอง”ขณะนี้มี 10
จังหวัดต้นแบบจากสสค.ที่ลุกขึ้นมาปฏิรูปการศึกษาแล้ว 10 จังหวัด ซึ่งจะเป็นการพัฒนา
ที่ตอบโจทย์ความต้องการในพื้นที่และนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงเชิงระบบบริหารจัดการ
     สิ่งสำคัญคือ การปฏิรูประบบการศึกษาไทยครั้งใหม่ต้องไม่ผลักภาระให้เป็นหน้าที่ของ
ใครฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งแต่ควรเป็นหน้าที่ของทุกฝ่ายที่ต้องร่วมมือกัน เพื่อให้ถึง “จุดเปลี่ยน” จากที่เคยเป็นมา 
ที่มา : http://seminar.qlf.or.th/Archive/View/32

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการตัดต่อวีดีโอ


ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับ VDO

                วิดีโอเป็นองค์ประกอบของมัลติมีเดียที่มีความสำคัญเป็นอย่างมาก เนื่องจากวิดีโอในระบบดิจิตอลสามารถนำเสนอข้อความหรือรูปภาพ (ภาพนิ่งหรือภาพเคลื่อนไหว) ประกอบกับเสียงได้สมบูรณ์มากกว่าองค์ประกอบชนิดอื่นๆ อย่างไรก็ตาม ปัญหาหลักของการใช้วิดีโอในระบบมัลติมีเดียก็คือ การสิ้นเปลืองทรัพยากรของพื้นที่บนหน่วยความจำเป็นจำนวนมาก เนื่องจากการนำเสนอวิดีโอด้วยเวลาที่เกิดขึ้นจริง (Real-Time) จะต้องประกอบด้วยจำนวนภาพไม่ต่ำกว่า 30ภาพต่อวินาที(Frame/Second) ถ้าหากการประมวลผลภาพดังกล่าวไม่ได้ผ่านกระบวนการบีบอัดขนาดของสัญญาณมาก่อน
 การนำเสนอภาพเพียง 1 นาทีอาจต้องใช้หน่วยความจำมากกว่า 100 MB ซึ่งจะทำให้ไฟล์มีขนาดใหญ่เกินขนาดและมีประสิทธิภาพในการทำงานที่ด้อยลง ซึ่งเมื่อมีการพัฒนาเทคโนโลยีที่สามารถบีบอัดขนาดของภาพอย่างต่อเนื่องจนทำให้ภาพวิดีโอสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นและกลายเป็นสื่อที่มีบทบาทสำคัญต่อระบบมัลติมีเดีย  (Multimedia System)


ชนิดของวิดีโอ
                วิดีโอที่ใช้งานอยู่ในปัจจุบันสามารถแบ่งได้เป็น ชนิดคือ
                1. วิดีโออะนาลอก (Analog Video) เป็นวีดีโอที่ทำการบันทึกข้อมูลภาพและเสียงให้อยู่ในรูปของสัญญาณอนาลอก (รูปของคลื่นสำหรับวีดีโอประเภทนี้ เช่น VHS (Video Home System) ซึ่งเป็นม้วนเทปวีดีโอที่ใช้ดูกันตามบ้าน เมื่อทำการตัดต่อข้อมูลของวีดีโอชนิดนี้ อาจจะทำให้คุณภาพลดน้อยลง
                2. วีดีโอดิจิตอล (Digital Video)  เป็นวีดีโอที่ทำการบันทึกข้อมูลภาพและเสียงที่ได้มาจากกล้องดิจิตอล ให้อยู่ในรูปของสัญญาณดิจิตอล คือ กับ 1 ส่วนการตัดต่อข้อมูลของภาพและเสียงที่ได้มาจากวีดีโอดิจิตอลนั้น จะแตกต่างจากวีดีโออนาลอก เพราะข้อมูลที่ได้จะยังคงคุณภาพความคมชัดเหมือนกับข้อมูลต้นฉบับ การพัฒนาของวีดีโอดิจิตอลส่งผลให้วีดีโออนาลอกหายไปจากวงการมัลติมีเดีย เนื่องจากสัญญาณดิจิตอลสามารถที่จะบันทึกข้อมูลลงบนฮาร์ดดิสก์ ซีดีรอม ดีวีดี หรืออุปกรณ์บันทึกข้อมูลอื่น ๆ และสามารถแสดงผลบนคอมพิวเตอร์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในการผลิตมัลติมีเดียบนคอมพิวเตอร์ สามารถเปลี่ยนรูปแบบของสัญญาณอนาลอกเป็นสัญญาณดิจิตอลได้ เพียงแต่ผู้ผลิตมีทรัพยากรทางด้านฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ที่เหมาะสมเท่านั้น



การนำวีดีโอไปใช้งาน
                วีดีโอสามารถนำไปใช้งานได้ในหลาย ๆ ลักษณะซึ่งสามารถแสดงดังต่อไปนี้
              ด้านบันเทิง (Video Entertainment) สามารถบันทึกมิวสิกวีดีโอ รายการโทรทัศน์ที่ชื่นชอบ บันทึกการแสดงสด หรือในงานเลี้ยงสังสรรต่าง ๆ เพื่อนำกลับมาชมได้อีกครั้ง
                ด้านการนำเสนองาน (Video Presentation) สำหรับแนะนำสินค้า กิจกรรมด้านต่าง ๆ
                ด้านงานสะสมวีดีโอ (Video Album) สามารถผลิต Video ที่ใช้เพื่อบันทึกภาพแห่งความทรงจำ รวมถึงกิจกรรมต่าง ๆ ที่กระทำร่วมกันขณะที่เราศึกษาอยู่
              ด้านการศึกษา (Education Program) ผลิตสื่อการเรียนการสอนของอาจารย์ในรูปแบบของวีดีโอเทป ซีดีรอม หรือภาพนิ่ง เพื่อใช้ประกอบการเรียนการสอนได้ทั้งในชั้นเรียน และทางออนไลน์

ลักษณะการทำงานของวีดีโอ
                กล้องวีดีโอเป็นการนำเอาหลักการของแสงที่ว่า แสงตกกระทบกับวัตถุแล้วสะท้อนสู่เลนส์ในดวงตาของมนุษย์ทำให้เกิดการมองเห็น มาใช้ในการสร้างภาพร่วมกับวงจรอิเล็กทรอนิกส์ โดยภาพที่ได้จะถูกบันทึกเป็นสัญญาณอิเล็กทรอนิกส์ หรือที่เรียกว่า สัญญาณอนาลอก ประกอบด้วยข้อมูลสี ชนิด คือ แดง เขียว น้ำเงิน (Red, Green, Blue : สีRGB) และสัญญาณสำหรับเชื่อมความสัมพันธ์ของข้อมูล (Synchronization Plus : สัญญาณ SYNC) สัญญาณวีดีโอจะถูกส่งไปบันทึกยังตลับวีดีโอ (Video Cassette Recorder : VCR) โดยการแปลงสัญญาณอิเล็กทรอนิกส์เป็นสัญญาณดิจิตอลและบันทึกลงบนอุปกรณ์บันทึกข้อมูลด้วยหลักการของสนามแม่เหล็ก การบันทึกจะต้องบันทึกผ่านอุปกรณ์ที่เรียกว่า หัวเทปวีดีโอ ที่สามารถบันทึกได้ทั้งภาพ เสียง และข้อมูลควบคุมการแสดงภาพ นอกจากบันทึกเป็นม้วนเทปวีดีโอแล้วยังสามารถบันทึกในรูปของสัญญาณวิทยุได้อีกด้วย โดยอาศัย NTSC, PAL หรือ SECAM เพื่อช่วยในการส่งสัญญาณให้สามารถแพร่ภาพทางโทรทัศน์ได้

มาตรฐานการแพร่ภาพวีดีโอ
                มาตรฐานการแพร่ภาพทั้งสาม ได้แก่ NTSC, PAL และ SECAM เป็นมาตรฐานที่นิยมใช้กันในหลายพื้นที่ทั่วโลก และได้มีการพัฒนามาตรฐานใหม่ขึ้นมา เรียกว่า “HDTV (High-Definition Television” ทำให้ผู้ผลิตมัลติมีเดียจำเป็นที่จะต้องทราบถึงมาตรฐานที่ใช้งานในแต่ละพื้นที่อย่างเหมาะสม
                - National Television System Committee (NTSC) เป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบในการตั้งมาตรฐานที่เกี่ยวกับโทรทัศน์และวีดีโอในสหรัฐ มาตรฐานนี้เป็นการเข้ารหัสข้อมูลแบบสัญญาณอิเล็กทรอนิกส์  กำหนดให้สร้างภาพด้วยเส้นในแนวนอน 525 เส้นต่อเฟรม ในอัตรา 30 เฟรมต่อวินาที มีสี 16 ล้านสีที่แตกต่างกันและอัตรารีเฟรช เป็น 60 Halt-Frame (Interlace)ต่อวินาที แต่บนจอภาพคอมพิวเตอร์นั้นจะใช้วิธีการที่เรียกว่า “Progressive-Scan” ซึ่งมีความแตกต่างจากจอภาพโทรทัศน์ตรงที่สามารถสร้างภาพเป็นแบบเฟรมต่อเฟรม โดยไม่มีการ Interlacing
                - Phase Alternate Line (PAL)  เป็นมาตรฐานของโทรทัศน์และวีดีโอที่นิยมในแถบยุโรป รวมถึงไทยด้วย เป็นการสร้างภาพจากแนวนอน 625 เส้นต่อเฟรม ในอัตรา 25 เฟรมต่อวินาทีและทำการแสดงภาพด้วยวิธี Interlacing เช่นกันแต่จะแสดงภาพในอัตรารีเฟรช เป็น 50 Halt-Frame ต่อนาที
                - Sequential Color and Memory (SECAM) เป็นมาตรฐานของการแพร่สัญญาณโทรทัศน์และวีดีโอที่ใช้กันในฝรั่งเศส ยุโรปตะวันออก ตะวันออกกลาง และประเทศในพื้นที่ใกล้เคียง ทำการแพร่สัญญาณแบบอนาลอก ส่วนการสร้างภาพจะเป็น 819 เส้น ด้วยอัตรารีเฟรช 25 เฟรมต่อวินาที ซึ่งจะแตกต่างจากมาตรฐาน NTCS และ PAL ในเรื่องการผลิต วิธีการแพร่ภาพออกอากาศ และจากสาเหตุที่ระบบนี้ไม่แตกต่างจากระบบ PAL มากนัก เครื่องรับโทรทัศน์ในยุโรปจึงทำการพัฒนาให้สามารถใช้งานได้ทั้งระบบ PAL และ SECAM
- High Definition Television (HDTV) เป็นเทคโนโลยีของการแพร่ภาพโทรทัศน์ที่ถูกพัฒนาขึ้นมา เพื่อแสดงภาพที่มีความละเอียดสูง คือ 1280x720 ซึ่งเป็นความละเอียดสำหรับการแสดงภาพเช่นเดียวกับโรงภาพยนต์ แต่ในขณะพัฒนานั้นได้มีการโต้เถียงกันระหว่างกลุ่มอุตสาหกรรมโทรทัศน์กับกลุ่มอุตสาหกรรมคอมพิวเตอร์ ว่าจะใช้ความละเอียดจอภาพเป็น1920x1080 พิกเซล หลังจากนั้นสรุปได้ว่า ความละเอียดนี้ไม่เหมาะสม ดังนั้นมาตรฐาน HDTV จึงได้กำหนดให้มีความละเอียดของจอภาพเป็น 1280x720

การผสมผสานระหว่างคอมพิวเตอร์และโทรทัศน์
                ปัญหาหนึ่งของความไม่ชัดเจนระหว่างวีดีโอบนเครื่องคอมพิวเตอร์และโทรทัศน์ ก็คือยังเข้าใจผิดว่าทั้งสองสิ่งนี้มีลักษณะที่เหมือนกัน ทั้งที่จริงแล้วพื้นฐานของวีดีโอบนโทรทัศน์เป็นเทคโนโลยีของสัญญาณอนาลอก สำหรับเป็นมาตรฐานการแพร่สัญญาณไปสู่ครัวเรือน แต่คอมพิวเตอร์วีดีโออยู่บนพื้นฐานของดิจิตอลเทคโนโลยี ทั้งสองเทคโนโลยีนี้จะพัฒนาไปสู่ระบบDVT และ HDTV ร่วมกันในอนาคต
                ระบบการซ้อนภาพวีดีโอ (Video Overlay System)  หลังจากพัฒนาวีดีโอและวีดีโอซีดี เพื่อแสดงผลบนโทรทัศน์ได้ จึงได้มีการนำวีดีโอและคอมพิวเตอร์มาใช้งานร่วมกันเรียกว่า “Computer-Based Training” (CBT) ซึ่งจะใช้คอมพิวเตอร์ควบคุมการทำงานของเครื่องเล่นวีดีโอด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่ส่งสัญญาณควบคุมผ่านสายสัญญาณไปบังคับการทำงานของเครื่องเล่นวีดีโอ แล้วแสดงผลบนจอภาพโทรทัศน์ของผู้ผลิตงาน การแสดงภาพวีดีโอบนเครื่องคอมพิวเตอร์จะต้องแปลงสัญญาณอนาลอกเป็นสัญญาณดิจิตอล และจะต้องติดการ์ดแสดงผลหรืออุปกรณ์ฮาร์ดแวร์สำหรับแปลงสัญญาณอนาลอกเป็นดิจิตอลให้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ด้วย นอกจากนี้ปัจจุบันประสิทธิภาพของอุปกรณ์คอมพิวเตอร์เพิ่มมากขึ้นจนสามารถแสดงผลได้อย่างมีคุณภาพ ซึ่งคุ้มค่ากับงบประมาณที่เพิ่มขึ้น
                ความแตกต่างระหว่างคอมพิวเตอร์วีดีโอและโทรทัศน์วีดีโอ ปกติขนาดจอภาพของคอมพิวเตอร์จะใช้อัตราส่วน 4:3เท่ากับกับจอภาพโทรทัศน์ แต่การสร้างภาพด้วยเส้นในแนวนอนจะใช้ 480 เส้นไม่เท่ากับจอภาพโทรทัศน์ และอัตราการรีเฟรชเป็น 66.67 Hz เมื่อส่งสัญญาณภาพที่มีขนาดใหญ่กว่าขนาดจอภาพโทรทัศน์ ขอบของภาพจะขยายเรียบไปตามขอบโค้งของขนาดจอภาพโทรทัศน์ (Overscan) โดยตรงข้ามกับขนาดจอคอมพิวเตอร์ ซึ่งจะแสดงภาพที่มีขนาดเล็กกว่าภาพบนจอโทรทัศน์ (Underscan) ดังนั้นเมื่อแปลงภาพจากจอคอมพิวเตอร์ไปแสดงผลบนจอโทรทัศน์ ขนาดของภาพจะไม่เต็มจอภาพโทรทัศน์ นอกจากนี้สีของจอคอมพิวเตอร์จะใช้องค์ประกอบสี RGB ด้วยการสร้างภาพเป็นดิจิตอลวีดีโอที่มีความชัดเจนมากกว่าจอโทรทัศน์ที่จะต้องทำการแปลงสัญญาณภาพเป็นอนาลอกวีดีโอ เพื่อแสดงผลออกมาบนจอภาพ ดังนั้นเมื่อจะสร้างมัลติมีเดียด้วยคอมพิวเตอร์จะต้องแสดงภาพด้วยองค์ประกอบสี RGB หรือแปลงสัญญาณก่อนที่จะแสดงผลบนจอภาพโทรทัศน์ เช่น เกมส์เพลยสเตชัน และ VCD
การผลิตวีดีโอ
1. การวางแผน เป็นการกำหนดเรื่องราวที่จะถ่ายทำว่าต้องการถ่ายทำสิ่งใด และกำหนดความยาวของเรื่องเพื่อที่จะได้เตรียมอุปกรณ์ต่าง ๆ ให้พร้อม
2. การถ่ายทำ เป็นการบันทึกภาพเคลื่อนไหว ภาพนิ่งหรือเหตุการณ์สำคัญต่าง ๆ ที่ผู้ผลิตต้องการจะถ่ายทำเพื่อจะได้นำข้อมูลนั้นเก็บไว้
3. แคปเชอร์ (Capture) เป็นการถ่ายโอนข้อมูลที่เป็นภาพอย่างเดียว หรือทั้งภาพและเสียงทีได้จากเทปวีดีโอ (VHS) มาบันทึกลงใน Harddisk ของเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยทำการจัดเก็บเป็นไฟล์ .AVI หลาย ๆ ไฟล์ ซึ่งจะทำให้ได้ข้อมูลที่สมบูรณ์ และสามารถนำไฟล์  .AVI นี้ไปใช้ในการตัดต่อภาพได้
4.การตัดต่อ เป็นการนำไฟล์หลาย ๆ ไฟล์ที่จัดเก็บอยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์มาเรียงต่อกัน โดยทำการเลือกภาพและเสียงที่ต้องการ จากนั้นจึงทำการตกแต่งภาพ โดยการเพิ่มเติมข้อมูลต่าง ๆ  เช่น สีสัน ความสวยงาม ข้อความ เพิ่มความเร็วหรือลดความเร็วในการแสดงภาพเคลื่อนไหว ลดเหลี่ยมของภาพ หรือจะทำการปรับเปลี่ยนความยาวของข้อมูลก็ได้ เช่นการตัดต่อวีดีโอด้วย Adobe Premiere ปัจจุบันการตัดต่อวีดีโอด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์จะได้งานที่มีคุณภาพดีกว่า เนื่องจากสามารถเพิ่มเทคนิคพิเศษ ปรับแต่งภาพให้สวยงามได้ จึงได้รับความนิยม แต่ผู้ที่ต้องการตัดต่ออย่างมืออาชีพต้องไม่ลืมว่างบประมาณในการเตรียมอุปกรณ์ตัดต่อนั้นมีราคาแพง หากจะทำการตัดต่อเพื่อเพิ่มความรู้ก็ควรใช้อุปกรณ์ที่มีราคาเหมาะกับงานที่จะทำ เพื่อป้องกันความสิ้นเปลืองโดยเปล่าประโยชน์
5. การจัดทำสื่อประสม เป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้จาการตัดต่อวีดีโอด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยนำผลิตภัณฑ์ที่ได้มาทำการเก็บบันทึกให้อยู่ในรูปของไฟล์ต่าง ๆ เทปวีดีโอ แผ่นวีซีดี หรือแผ่นดีวีดี ซึ่งเป็นสื่อที่นิยมมากในปัจจุบัน เพื่อจะได้เก็บผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ เหล่านั้นไว้ หรือนำออกมาเพื่อเผยแพร่
การบีบอัดวีดีโอ
                เป็นการจัดเก็บข้อมูลภาพและเสียงของไฟล์ต้นฉบับให้มีขนาดลดน้อยลง แต่ยังคงมีปริมาณของข้อมูลเท่าเดิม แต่ก็เป็นที่ทราบกันดีแล้วว่าไฟล์อาจจะมีคุณภาพลดน้อยลงไปตามขนาดที่บีบอัด แต่เนื่องจากการบีบอัดข้อมูลมีประโยชน์เป็นอย่างมากจึงทำให้มีการพัฒนาต่อมาเรื่อย ๆ ซึ่งสามารถแสดงได้ดังต่อไปนี้
                - เจเพ็ก (JPEG) : เป็นมาตรฐานการบีบอัดข้อมูล เนื่องจากมีความต้องการที่จะย่อภาพสีโดยให้คงรายละเอียดเดิมไว้ให้มากที่สุด ซึ่งคอมพิวเตอร์จะทำการสุ่มตัวอย่างของจุดภาพในส่วนต่าง ๆ ก่อนที่จะบีบอัดข้อมูล โดยตรวจสอบพื้นที่ว่าจะมีสีอะไรอยู่มากที่สุด จากนั้นจะยุบพื้นที่ให้เหลือเพียงสีที่ต้องการเพียงหนึ่งพิกเซล ซึ่ง JPEG จะถูกนำมาใช้กับภาพนิ่งที่อัตราส่วนการบีบประมาณ 25:1, 40:1 จนถึง 100:1
Motion – JPEG หรือ M – JPEG : เป็นมาตรฐานการบีบอัดข้อมูลที่สามารถบีบอัดและขยายสัญญาณได้ตั้งแต่ 12:1, 5:1 และ 2:1 ทำให้ภาพที่ได้ออกมามีคุณภาพและเป็นที่น่าพอใจ สำหรับกลุ่มผู้ผลิตงานที่ไม่ต้องการความละเอียดมากนัก จึงเป็นระบบที่นิยมใช้ในการ์ตัดต่อ และการ์ดแคปเชอร์ (Capture Card) แบบต่าง แต่ในปัจจุบันเริ่มความนิยมเนื่องจากระบบดิจิตอลของกล้องดิจิตอลวีดีโอเข้ามาแทนที่
CODEC : เป็นเทคโนโลยีการบีบอัดและการคลายข้อมูล ซึ่งสามารถนำไปใช้กับซอฟต์แวร์และฮาร์ดแวร์ หรืออย่างใดอย่างหนึ่งก็ได้ โดยส่วนมาก CODEC จะนิยมใช้กันในบีบอัดแบบ MPEG, Indeo และ Cinepak
                - เอ็มเพ็ก (MPEG : Moving Picture Experts Group) : เป็นมาตรฐานการบีบอัดสัญญาณภาพและเสียง โดยใช้ระบบDCT ซึ่งเป็นระบบที่ใช้กับระบบวีดีโอคุณภาพสูงทั่วไป จะมีความคล้ายคลึงกับการบีบอัดข้อมูลแบบ JPEG แต่จะลดจำนวนข้อมูลที่ซ้ำกันของภาพต่อไปด้วย การบีบอัดข้อมูลแบบ MPEG นี้ เป็นแบบไม่สมมาตร เนื่องจากขั้นตอนในการเข้ารหัสสัญญาณวีดีโอนานกว่าขั้นตอนการถอดรหัสข้อมูล โดย MPEG ได้ถูกพัฒนาขึ้นอย่างต่อเนื่องดังนี้
 - MPEG-1 ใช้กับวีดีโอที่ดูตามบ้าน เป็นที่รู้จักกันดีในชื่อ VHS ซึ่งไฟล์ที่ได้จากการบีบอัดข้อมูลแบบนี้สามารถใช้เครื่องเล่น CD ทั่วไป อ่านหรือเขียนข้อมูลได้ แต่ยังให้ภาพที่ค่อนข้างหยาบ สัญญาณสีแต่ละจุดไม่สามารถกำหนดเป็นสีที่ถูกต้องได้ ถ้าเป็นระบบที่ใช้อุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ช่วยในการถอดรหัสจะแสดงภาพที่ชัดเจนได้เต็มจอภาพ แต่ถ้าใช้ซอฟต์แวร์อย่างเดียวจะแสดงภาพที่ชัดเจนได้เพียงครึ่งจอภาพ
- MPEG-2 เพื่อใช้ในอุตสาหกรรมภาพยนตร์ โดยเฉพาะการบีบอัดข้อมูลแบบนี้ก่อนที่คอมพิวเตอร์จะคำนวณผลเพื่อแทนค่าจุดสีต่าง ๆ ภาพจะถูกแบ่งออกเป็นส่วน ๆ และจะคำนวณทีละหลาย ๆ ภาพ เรียกว่า “GOP (Group of Picture) “ ซึ่งเป็นการมองภาพครั้งละ 8-24 ภาพ โดยจะดูจากภาพที่หนึ่งของ GOP เป็นหลัก จากนั้นจะทำการเข้ารหัสภาพ แล้วมองภาพถัดไปว่ามีความแตกต่างจากภาพแรกที่จุดใด จากนั้นจะทำการเปรียบเทียบและเก็บเฉพาะที่แตกต่างของภาพไว้ในเฟรมนั้น ส่วนภาพต่อไปก็ทำการเปรียบเทียบกับภาพติดกัน แล้วเก็บส่วนต่างไว้เช่นกัน ทำให้สามารถลดจำนวนข้อมูลที่ต้องการเก็บ และเก็บบันทึกข้อมูลที่ต้องการถอดรหัสได้
 - MPEG-3 เพื่อใช้งานกับโทรทัศน์ที่มีความคมชัดสูง หรือเรียกว่า HDTV (High – Definition Television) เป็นโทรทัศน์ดิจิตอลชนิดใหม่ที่ใช้ในสหรัฐ แต่ไม่ได้นำมาใช้งานเนื่องจากไม่ประสบความสำเร็จ
- MPEG-4 เป็นมาตรฐานที่ใกล้เคียงกับ Quick Time เพื่อใช้งานทางด้านมัลติมีเดียที่มีแบนด์วิดท์ (Bandwidth) ต่ำ ซึ่งสามารถรวมภาพ เสียง และส่วนประกอบอื่นที่คอมพิวเตอร์สร้างขึ้นได้ ที่สำคัญ MPEG-4 ได้ถูกออกแบบให้มีความสามารถในเชิงโต้ตอบกับวัตถุต่าง ๆ ในภาพได้
- MPEG-7 เป็นตัวเชื่อมรายละเอียดเนื้อหามัลติมีเดียเข้าด้วยกัน (Multimedia Content Description Interface)  โดยมีจุดหมายที่จะสร้างมาตรฐานการอธิบายข้อมูลข่าวสารของมัลติมีเดีย เพื่อใช้ในการสนับสนุนความหมายของข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ บนสื่อ
 - Microsoft Video : ทำงานในขั้นตอนการบีบอัดข้อมูลที่อัตราส่วนการบีบอัดต่ำได้อย่างรวดเร็ว เหมาะสำหรับภาพที่มีความเคลื่อนไหวมาก ๆ แต่ความละเอียดต่ำ (240x180 พิกเซล)
  - Microsoft RLE : ใช้อัตราส่วนในการบีบอัดต่ำ เหมาะสำหรับภาพเคลื่อนไหวต่าง ๆ ที่มีความชัดเจน แต่ไม่เหมาะกับงานวีดีโอ
  - DV Format : มีการสร้างระบบการเข้ารหัสเพื่อบันทึกเป็นสัญญาณดิจิตอลโดยตรง เพื่อใช้กับกล้องถ่ายวีดีโอแบบดิจิตอล ซึ่งเรียกการเข้ารหัสแบบนี้ว่า “DV Format” โดยสัญญาณที่ถูกบันทึกจะผ่านการบีบอัดข้อมูลเรียบร้อยแล้ว สามารถส่งผ่านเข้าสู่คอมพิวเตอร์ได้โดยตรงไม่มีปัญหาการสูญเสียความคมชัดของภาพ แต่ข้อมูลภาพดิจิตอลวีดีโอค่อนข้างใหญ่การส่งผ่านข้อมูลจะใช้เวลานาน จึงมีการพัฒนามาตรฐาน IEEE หรือที่เรียกว่า “Fire Wire” มารองรับการส่งข้อมูลแบบ DV จนกระทั่งได้กลายเป็นมาตรฐานการเชื่อมต่อสำหรับกล้องดิจิตอลวีดีโอในที่สุด
 - DivX : กลุ่มโปรแกรมเมอร์ใต้ดินได้ร่วมกันพัฒนาระบบซอฟต์แวร์ซึ่งสามารถลดข้อมูลเหลือเพียง10-20 เปอร์เซ็นต์ของปริมาณข้อมูลเดิม และยังสามารถเปิดชมภาพยนตร์ด้วยโปรแกรมธรรมดาได้อีกด้วย
 - DVI : เป็นเทคโนโลยี CODEC ที่ถูกพัฒนาซึ่งมีมาตรฐาน NTST ในการแสดงภาพที่มีอัตรา 30เฟรมต่อวินาที สามารถบันทึกและแสดงภาพวีดีโอที่มีการเคลื่อนไหวที่สมจริงเหมือนในโทรทัศน์ แต่บางครั้งมักจะเกิดปัญหาเพราะเนื้อที่ของฮาร์ดดิสก์ไม่เพียงพอ เนื่องจากสามารถบันทึกข้อมูลได้ในปริมาณมาก ดังนั้น DVI จึงแก้ปัญหานี้โดยการบีบอัดข้อมูลและคลายข้อมูล DVI ด้วยอุปกรณ์ที่เป็นฮารด์แวร์ทั้งหมด
  - Cinepak : เป็นเทคโนโลยีการบีบอัดและการคลายข้อมูล สามารถส่งข้อมูลวีดีโอขนาด 24 บิต บนพื้นที่ขนาด ต่อ 4 ของจอภาพวินโดว์ ซึ่งนิยมใช้ในรูปแบบของไฟล์วีดีโอที่เป็น *.avi โดยสามารถบีบอัดข้อมูลได้ดีแต่มีข้อเสียตรงที่ใช้เวลานานในการบีบอัดข้อมูล
 - Indeo : มีพื้นฐานมาจาก DVI ที่เป็นฮาร์ดแวร์ล้วน ๆ ส่วนการเข้าและถอดรหัสของ Indeo จะเป็นซอฟต์แวร์ทั้งหมด โดยนิยมนำมาประยุกต์ใช้ในการประชุมด้วยภาพ

ซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการผลิตวีดีโอ
- Macromedia Flash MX โปรแกรมสำหรับสร้างงานอนิเมชั่น มัลติมีเดีย งานอินเตอร์เอคทีฟ และรองรับงานออนไลน์ต่าง ๆ
- Ulead Video Studio เป็นโปรแกรมตัดต่อวีดีโอ Capture ภาพที่นำสัญญาณผ่านเข้ามาสามารถตัดต่อวีดีโอให้อยู่ใน       ฟอร์แมต MPEG I, MPEG II, DV และ VCD ได้
- Adobe Photoshop CS โปรแกรมสำหรับตกแต่งรูปภาพ
- Windows Movie Maker โปรแกรมสำหรับใช้ในการตัดต่อภาพ เป็นมัลติมีเดียสตรีมมิ่งทั้งภาพและเสียงที่ได้จากการตัดต่อวีดีโอ และสามารถนำเข้าไฟล์ไม่ว่าจะเป็น *.avi, *.afs, *.MPEG, *.MPG, *.MPA เป็นต้น
- VirtualDub เป็นโปรแกรมที่ช่วยใส่ Feeling ต่าง ๆ ให้แก่ภาพ ช่วยในการลดเม็ดสีที่คล้ายเม็ดหิมะที่เกิดจากการตัดต่อภาพจาก TV หรือ TV จูนเนอร์ และสามารถทำการบีบอัดข้อมูลได้
- TMPGEnc หรือทีเอ็มเพ็ค เป็นโปรแกรมที่ใช้ในการดัดแปลงไฟล์ VDO แบบ *.avi ให้เป็น *.MPEG ได้สามารถใช้โปรแกรม TMPGEnc ร่วมกับ VirtualDub ได้
- Cyberlink Videolive Mail เป็นโปรแกรมที่สามารถปรับแต่งภาพ และสนับสนุนการรับชมรายการโทรทัศน์ วีดีโอ และบันทึกรายการโทรทัศน์หรือวีดีโอที่รับชมได้
- Flash เป็นโปรแกรมสำหรับพัฒนางานรูปแบบต่าง ๆ เช่น งานวีดีโอ งานมัลติมีเดีย งานเว็บแอพพลิเคชั่น ระบบE-Learning  และระบบแอพพลิเคชั่นขนาดใหญ่

เทคนิคถ่ายวีดีโอง่ายๆ 10 ข้อที่ผู้ชมดูแล้วประทับใจ


เทคนิคถ่ายวีดีโอง่ายๆ 10 ข้อที่ผู้ชมดูแล้วประทับใจ

1. คิดและวางแผนก่อนถ่ายวีดีโอ
ก่อนที่เราจะถ่ายวีดีโอในเหตุการณ์หรืองานอะไรก็แล้วแต่ เราจะต้องคิดและวางแผนก่อนว่า เราต้องการที่จะนำเสนออะไรในวีดีโอของเรา เช่น ผมไปท่องเที่ยวต่างจังหวัดกับกลุ่มเพื่อนๆ ผมต้องการถ่ายวีดีโอที่เก็บบรรยากาศทั้งหมดว่าไปเที่ยวที่ไหนมาบ้าง มีกิจกรรมอะไรที่ทำบ้าง และบรรยากาศในขณะนั้นเป็นอย่างไรบ้าง เราสามารถเขียนออกเป็นรายละเอียดได้ดังนี้
- ป้ายสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ และสภาพแวดล้อม เพื่อจะได้รู้ว่าไปเที่ยวที่ไหนกัน และเป็นอย่างไรบ้าง
- บรรยากาศในขณะนั้น เช่น อาจจะถ่ายวีดีโอ candid เพื่อนๆ
- มีกิจกรรมอะไรที่ทำบ้าง เช่น แวะซื้อของ เดินป่า เล่นน้ำตก
เมื่อเราแยกย่อยลงไปในแต่ละช็อต เราก็ต้องคิดอีกทีครับว่า เราจะจัดวาง composition ในการถ่ายวีดีโอเป็นอย่างไร ให้ตรงกับความต้องการของเรา เช่น ในขณะที่กำลังนั่งเรือ เราอยากจะให้เห็นบรรยากาศเพื่อนๆในขณะนั่งเรือพร้อมกับวิวทิวทัศน์
2. โฟกัสจุดที่เราสนใจในการถ่ายวีดีโอ
ก่อนที่เราจะกดบันทึกวีดีโอ เราจะต้องรู้ตัวเองดีว่า ในช็อตนี้เราต้องการที่จะถ่ายอะไร เราจะต้องถ่ายให้สำเร็จก่อนที่จะไปถ่ายสิ่งอื่นๆ เช่น ในขณะที่เรากำลังถ่ายเพื่อนของเราในงานรับปริญญาอยู่ เพื่อนของเรากำลังยืนถ่ายรูปกับเพื่อนๆอยู่ ขณะที่เรากำลังถ่ายวีดีโออยู่ มีผู้หญิงสวยคนหนึ่งเดินผ่านเราไป เราจะต้องถ่ายวีดีโอเพื่อนเราให้เสร็จก่อนที่จะหันกล้องไปถ่ายผู้หญิงสวยคนนั้น (ถ้าเดินไปไกลแล้วก็ถือว่าไม่ได้เป็นเนื้อคู่กัน ^ ^ )
จุดประสงค์หลักในข้อนี้ คือ ต้องการให้เรามีสมาธิในการถ่าย เพราะจะทำให้การจัดวาง composition มีความแน่นอน และกล้องก็จะไม่สั่นด้วย
3. ความยาวของวีดีโอในแต่ละช็อต
ธรรมชาติของคนเราเมื่อดูสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ตาของคนเราจะจดจ้องกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่อยู่นิ่งๆได้ไม่นาน เช่น เราดูวีดีโอการบรรยายของวิทยากร ถ้าการถ่ายวีดีโอมีเพียงการถ่ายเฉพาะวิทยากรที่กำลังนั่งบรรยายอยู่ (uncut video) เราดูได้ซักพักก็จะรู้สึกเบื่อ ง่วงนอน นั่นคือธรรมชาติของคนครับ
เราไม่ควรจะตัดต่อวีดีโอในแต่ละช็อตให้ยาวนานเกินไป ควรจะตัดต่อวีดีโอจากการถ่ายวีดีโอหลายๆมุม เช่น normal view + bird eyes view + worm view และใช้รูปแบบการถ่ายหลายๆรูปแบบ เช่น wide shot + medium shot + close up ผสมผสานกันไป เวลาตัดต่อวีดีโอก็ตัดสลับไปมาระหว่างช็อตต่างๆ เช่น ในขณะที่วิทยากรกำลังบรรยาย เราก็อาจเอาบรรยากาศคนกำลังนั่งฟังเข้ามาแทรก (cutting shots) เพื่อเป็นการดึงดูดความสนใจของคนดู
นอกจากนี้แล้ว พวก cutting shots ยังสามารถใช้สื่อความหมายของเหตุการ์ที่จะเกิดขึ้นได้ เช่น ช็อตแรกเป็นหนูกำลังมองสิ่งใดสิ่งหนึ่งอยู่ ทำให้ไม่กล้าลงไป ตัดมาช็อตที่สองเป็นรูปงู เป็นการสื่อความหมายว่าที่หนูไม่กล้าลงไปเพราะมีงูอยู่ด้านล่างนั่นเอง
4. ใบหน้าถ่ายทอดอารมณ์ได้ดีที่สุด
ถ้าเราต้องการจะสื่อสารถึงอารมณ์ของตัวละครในฉาก สิ่งที่สำคัญที่สุดก็คือ ดวงตา เพราะดวงตาเป็นหน้าต่างของหัวใจ ปกติการถ่ายวีดีโออาจจะเริ่มที่ wide shot เพื่อให้เห็นบรรยากาศโดยรวมในขณะนั้น ฉากต่อมาอาจจะเป็น medium shot ระหว่างคนสองคนกำลังคุยกัน แต่พอเมื่อถึงจังหวะที่ต้องการจะสื่อสารถึงอารมณ์ในตัวละคร เช่น กำลังมีความสุข เศร้า หรือกำลังคิดวางแผนอะไรอยู่ เราจะต้องถ่ายวีดีโอแบบ close up เพื่อให้เห็นดวงตาที่ชัดเจนของผู้พูด
5. ซูมด้วยเท้าก่อนเป็นอันดับแรก
ยิ่งมีการใช้การซูมมากเท่าใด กล้องวีดีโอก็จะยิ่งมีความสั่นมากขึ้นเท่านั้น เป็นผลให้วีดีโอของเราไม่สามารถดูได้  เคยมีคนเคยคำนวณเอาไว้ว่า ถ้าเราซูมเข้าไป 10 เท่า การสั่นของกล้องวีดีโอก็จะเกิดขึ้น 10 เท่า
อันดับแรกที่จะแนะนำ คือ ใช้วิธีการเดินเข้าไปหาวัตถุแล้วถ่ายวีดีโอ โดยปรับค่าการซูมเป็นแบบกว้างที่สุด วิธีนี้ถึงแม้ว่ามือของเราจะสั่นเล็กน้อยในขณะทำการถ่าย แต่เนื่องจากกล้องวีดีโอมีระบบ image stabilization อยู่ จะทำให้มองไม่เห็นการสั่นเล็กน้อยเหล่านี้
ถ้าเราไม่สามารถเดินเข้าไปถ่ายวัตถุใกล้ๆได้ เช่น ถ่ายวีดีโอสัตว์ที่อยู่ในกรง ให้เราใช้ขาตั้งกล้องวีดีโอช่วย โดยเราต้องเลือกขาตั้งกล้องให้เหมาะกับกล้องวีดีโอของเราด้วย
กล้องวีดีโอจะมีระบบการซูม 2 แบบ คือ Optical zoom and Digital zoom ให้เราปิดการทำงานแบบ Digital zoom เพราะว่ามันเป็นการขยายภาพให้ใหญ่ขึ้น ซึ่งส่งผลให้คุณภาพที่ได้จากวีดีโอลดน้อยลง
การซูมยังมีผลต่อระบบโฟกัสอีกด้วย โดยเฉพาะระบบ auto focus เมื่อเราทำการซูมไปที่วัตถุหนึ่ง เมื่อวัตถุนั้นมีการเคลื่อนที่ กล้องวีดีโออาจจะเกิดการเบลอเป็นช่วงๆ เนื่องมาจากการซูมจะทำให้มีโอกาสหลุดโฟกัสสูง
6. Move – Point – Shoot – Stop
หลักการถ่ายวีดีโอง่ายๆมีอยู่ 5 ข้อครับ คือ
Move เคลื่อนที่ไปยังตำแหน่งที่เราคิดว่า จะได้ช็อตที่ตรงกับความต้องการของเรา เช่น ถ้าเราต้องการถ่ายวีดีโอคู่บ่าวสาวเดินเข้ามาในงาน ให้ดูแล้วได้อารมณ์แบบยิ่งใหญ่ เราก็ต้องไปอยู่ในตำแหน่งด้านหน้าคู่บ่าวสาว แล้วย่อตัวลงถ่ายวีดีโอในมุม worm view
Point หลังจากได้ตำแหน่งแล้ว ให้เราทำการจัด composition ของเราให้เรียบร้อยก่อนที่จะถ่าย ในบางช่วงเวลาเราจะต้องทำอย่างรวดเร็ว เพราะเป็นช็อตที่ต่อเนื่องกันมา ซึ่งมันก็ขึ้นอยู่กับประสบการณ์ในการถ่ายวีดีโอของเราเอง เช่น จากตัวอย่างด้านบน ถ้าเราจัด composition ได้ช้า เราก็จะได้ช็อตที่คู่บ่าวสาวก็จะเดินมาถึงเราสั้นๆ ทำให้การตัดต่อวีดีโออาจจะไม่ค่อยสวยงามเท่าไร
Shoot หลังจากจัด composition แล้ว เราก็จะเริ่มถ่ายวีดีโอ โดยส่วนมากแล้วเราจะตั้งกล้องแบบนิ่งๆ วัตถุที่เคลื่อนที่เข้ามาจะเป็นจุดสนใจของผู้ชม หรือบางกรณีเราอาจจะเคลื่อนที่กล้องไปตามวัตถุ เพื่อที่จะสื่อสารถึงอารมณ์ในอีกรูปแบบหนึ่ง ข้อแนะนำอย่างหนึ่งในการถ่าย คือ ไม่ควรใช้การซูมเข้าซูมออกในขณะถ่าย เพราะจะทำให้คนดูสับสนว่า จุดสนใจในช็อตนั้นมันคืออะไร
Stop หลังจากที่เราถ่ายได้ช็อตที่เราต้องการแล้ว เราก็จะต้องเคลื่อนที่ไปหาตำแหน่งใหม่อีก เพื่อที่จะไปถ่ายช็อตที่เราต้องการต่อไป ทำอย่างนี้วนไปเรื่อยๆ
7. พยายามให้แสงอยู่ด้านหลังเรา
เดี๋ยวนี้กล้องวีดีโอสมัยใหม่จะมีโหมดการปรับแสงอัตโนมัติ ถ้ามีแสงสว่างมากเกินไปก็จะมีการเปิดรูรับแสงให้เล็กลง ในทางตรงกันข้ามถ้ามีแสงไม่เพียงพอ ก็จะมีการเปิดรูรับแสงให้กว้างขึ้น
ระบบกล้องวีดีโอจะเกิดการสับสนถ้าในช็อตเดียวกันมีสภาพแสงที่แตกต่างกันมาก เช่น การถ่ายวีดีโอหมู่นอกอาคาร บางคนที่โดนแดดก็จะสว่างมาก คนไหนที่ไม่โดนแดดก็จะดูมืดเกินไป วิธีเบื้องต้นในการแก้ไข คือ เปลี่ยนตำแหน่งในการถ่าย หรือถ้าไม่สามารถย้ายตำแหน่งได้จริงๆ เราอาจจะใช้วิธีหาอะไรบังคนที่โดนแดด และมีข้อแนะนำอีกอย่างหนึ่ง คือ เวลาถ่ายวีดีโอ เราควรจะให้แสงอยู่ทางด้านหลังของเรา เพื่อส่องไปยังวัตถุที่อยู่ด้านหน้าของเรา เช่น การถารถ่ายวีดีโอในอาคาร เราไม่ควรจะให้วัตถุอยู่บริเวณริมหน้าต่าง เพราะแสงอาทิตย์จะส่องมาทางด้านหลัง ทำให้เป็นการถ่ายย้อนแสง ผลที่ได้ คือ วัตถุจะมีลักษณะเป็นภาพ Silhouette เงาดำมืด
การถ่ายวีดีโอในสถานที่ที่มีแสงไม่เพียงพอ การปรับรูรับแสงให้ใหญ่ขึ้น เพื่อที่จะทำให้ภาพสว่างขึ้น แต่ผลที่ได้เพิ่มเติมก็คือ ภาพจะแตกเป้นเม็ดๆ และสีในภาพของเราจะซีด ไม่สดเหมือนกับธรรมชาติทั่วๆไป
8. อย่าใช้ effect ใดๆในกล้องวีดีโอ
เวลาเราถ่ายวีดีโออะไรก็ตาม เราไม่ควรจะใช้ฟังก์ชั่น effect ต่างๆที่กล้องวีดีโอมีให้ เช่น night vision, posterizing, sepia หรืออื่นๆ เพราะว่าเมื่อเราใช้แล้ว เราไม่สามารถที่จะแก้ไขวีดีโออันนั้นให้กลับมาเป็นปกติได้อีก เราควรจะถ่ายวีดีโอแบบปกติธรรมดา เมื่อเราได้ footage นั้นมาแล้ว ค่อยนำไปปรับแต่งแก้ไขในโปรแกรมตัดต่อวีดีโออีกที วิธีการนี้จะช่วยทำให้เราสามารถใช้วีดีโอได้ในหลากหลายสถานการณ์
9. ชนิดของงานแปรผันกับความยาวของวีดีโอทั้งหมด
ในหัวข้อนี้จะพูดถึงเรื่องความยาวของวีดีโอทั้งหมดหลังจากตัดต่อเสร็จแล้ว เราจะต้องคิดและวางแผนตั้งแต่ตอนแรกแล้วว่า เราถ่ายวีดีโอเพื่อที่จะไปนำเสนออะไร เช่น ถ้าเราถ่ายวีดีโอเพื่อทำ wedding presentation ให้กับคู่บ่าวสาว วีดีโอของเราควรจะมีความยาวไม่เกิน 10 นาที เราก็จะต้องคิดว่าในแต่ละฉาก ควรจะมีความยาวประมาณเท่าไร ฉากสัมภาษณ์ไม่ควรเกิน 2 นาที ฉากริมทะเลประมาณ 3 นาทีประมาณนี้ ถ้าเราทำวีดีโอที่มีความยาวมากเกินไป นอกจากจะทำให้น่าเบื่อแล้ว ยังเป็นการสิ้นเปลืองงบประมาณโดยไม่จำเป็นอีกด้วย
10. ไมโครโฟนภายนอกเป็นสิ่งจำเป็น
ปัญหาที่พบกันบ่อยๆในการถ่ายวีดีโอ คือ เรื่องเสียง เพราะว่าส่วนมากแล้วเราจะใช้ไมโครโฟนที่ติดมากับตัวกล้องถ่ายวีดีโอ ผลที่ได้ก็คือ ทั้งเสียงรถ เสียงคนคุยกัน เสียงเด็กร้องไห้ จะมารวมอยู่ในวีดีโอของเราหมด เพราะว่าไมโครโฟนที่ติดอยู่กับตัวกล้องมีลักษณะ คือ รับเสียงจากทุกทิศทางเข้ามาในตัวกล้อง
วิธีแก้ไขง่ายๆคือ เราต้องเอากล้องวีดีโอไปใกล้แหล่งกำเนิดเสียงให้มากที่สุด ซึ่งจริงๆแล้ววิธีนี้ อาจใช้ไม่ได้ในบางกรณี เช่น ผู้พูดอยู่บนเวที เราจึงต้องใช้ไมโครโฟนภายนอก (External Microphone) ช่วยในการบันทึกเสียง เราอาจจะใช้วิธีต่อสายไมโครโฟนเข้ากับกล้องเพื่อบันทึกเสียงโดยตรง หรืออาจจะใช้วิธีบันทึกเสียงแยกต่างหาก แล้วใช้โปรแกรมตัดต่อวีดีโอนำเสียงนั้นมา Sync กับวีดีโออีกที

สอท.เปิดเผย 20 คณะยอดนิยมแอดมินชันปี 59


สอท.เปิดเผย 20 คณะยอดนิยมแอดมินชันปี 59




 นพ.อุดมกล่าวว่า สำหรับ 20 อันดับคณะที่มีผู้สนใจสมัครมากที่สุด ประจำปีการศึกษา 2559 ดังนี้
1.คณะการบัญชีและการจัดการ สาขาวิชาบัญชีบัณฑิต (บช.บ.) มหาวิทยาลัยมหาสารคาม (มมส) สมัคร 1,405 คน
2.คณะพยาบาลศาสตร์ หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยบูรพา (ม.บ.) สมัคร 1,335 คน
3.คณะบริหารธุรกิจ สาขาวิชาบัญชี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (มก.) สมัคร 1,332 คน 
4.คณะนิติศาสตร์ พื้นฐานวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) สมัคร 1,301 คน
5.คณะพยาบาลศาสตร์ หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต (พย.บ.4 ปี) มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว) สมัคร 1,267 คน
6.คณะวิทยาศาสตร์ หาดใหญ่ ประเภทวิชาวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (ม.อ.)
7.คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (มช.) สมัคร 1,177 คน
8.สำนักวิชาวิศวกรรมศาสตร์ วิศวกรรมการผลิต วิศวกรรมเกษตรและอาหาร วิศวกรรมขนส่งและโลจิสติกส์ วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ วิศวกรรมเคมี วิศวกรรมเครื่องกล วิศวกรรมเซ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี (มทส.)
9.คณะพยาบาลศาสตร์ หาดใหญ่ สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ (เรียนที่วิทยาเขตหาดใหญ่) ม.อ.สมัคร 1,150 คน
10.คณะวิทยาศาสตร์ (กลุ่มที่ 1 สาขาวิทยาศาสตร์กายภาพและชีวภาพ) ใน 8 สาขาวิชา คือ คณิตศาสตร์ คณิตศาสตร์ประยุกต์ เคมี ชีววิทยา จุลชีววิทยา ฟิสิกส์ สถิติ และมหาวิทยาลัยศิลปากร (มศก.) สมัคร 1,098 คน
12.คณะนิติศาสตร์ หลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยนเรศวร (มน.) 1,079 คน 
13.คณะวิทยาการจัดการ สาขาวิชาการตลาด มศก.สมัคร 966 คน
14.คณะเกษตรศาสตร์ สาขาวิชาพืชไร่ พืชสวน ปฐพีศาสตร์ สัตวบาล ฯลฯ มช.สมัคร 949 คน
15.คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิชาวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สมัคร 914 คน
16.คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล (มม.) สมัคร 898 คน 
17.คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ สาขาวิชานิเทศศาสตร์ พื้นฐานศิลปศาสตร์ รูปแบบที่ 1 ม.บ.สมัคร 888 คน
18.คณะพยาบาลศาสตร์วิทยาลัยพยาบาล ตำรวจ สมัคร 865 คน 
19.คณะบริหารธุรกิจ สาขาวิชาการจัดการ มก.สมัคร 842 คน 
 20.คณะพยาบาลศาสตร์ หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต มน.สมัคร 839 คน

 
           “อย่างไรก็ตาม คณะที่นักเรียนเลือกสมัครมากที่สุดปีนี้ไม่ได้สะท้อนความนิยมที่แท้จริง เพราะเด็กส่วนใหญ่อาจสอบติดรับตรงในคณะ/สาขาที่อยากเรียนไปแล้ว และคณะ/สาขาที่เด็กเลือกสมัครแอดมิสชั่นส์มากที่สุดปีนี้ส่วนใหญ่ เป็นคณะ/สาขาที่คะแนนต่ำในปีที่ผ่านมา และเด็กคะแนนถึง หากเลือกก็จะมีโอกาสเข้าเรียนได้สูง มองในแง่ดีคือเด็กเลือกสมัครเข้าเรียนในคณะ/สาขาที่ตรงกับความสามารถ หรืออาจจะอยากเข้าเรียนในสาขานั้นจริงๆ”นพ.อุดมกล่าว

ที่มา : http://www.admissionpremium.com/news/1062


การศึกษาไทย ทำไมต้องกวดวิชา


การศึกษาไทย ทำไมต้องกวดวิชา



                          “ทำไมเด็กไทยต้องไปเรียนกวดวิชา เพราะโรงเรียนสอนไม่ดี หรือค่านิยม....พาไป “หลากหลายคำถามที่ต้องเจอะแล้วต้องสงสัยว่าทำไม...ต้อง ไปหาที่เรียนเสริม เพราะอะไร?...เพราะผู้สอนไม่มีเทคนิคการจูงใจ หรือบรรยากาศในชั้นเรียนไม่เอื้ออำนวยต่อการเรียนรู้ อะไรคือสาเหตุที่ต้องเรียนเพิ่ม!! มีท่านผู้รู้เคยให้ความเห็นว่า การเรียนในโรงเรียนเป็นเหมือนอาหารหลัก ซึ่งให้ความรู้พื้นฐานแก่เด็กเพื่อจะได้นำไปประยุกต์ใช้ในชีวิต ขณะที่การกวดวิชาเป็นเหมือนการให้วิตามินเสริมกับนักเรียน เพราะเป็นความรวบรัดและเข้มข้น ถ้าเด็กมีพื้นฐานความรู้ไม่ดีถึงจะกวดวิชาก็ไม่ส่งผลดีต่อตัวเด็ก และต้องยอมรับว่าการกวดวิชามีผลต่อสุขภาพจิตของเด็ก การกวดวิชาจะจำกัดกรอบความคิดของเด็กในขณะที่ควรคิดได้มากกว่านั้น ทำให้ไม่มีเวลาทบทวนหนังสือ และจะทำให้เหนื่อยมาก ดังนั้น การเรียนที่ดีจึงควรจะมีเวลาทบทวนสิ่งที่เรียนไปแล้ว ไม่ควรทุ่มเวลาให้กับการกวดวิชามากนัก แม้การกวดวิชาอาจให้แนวคิดใหม่ๆ ในการแก้ปัญหาได้บ้าง แต่ก็ไม่สำคัญเท่าไร เพราะปัญหาหนึ่งสามารถแก้ไขได้หลายวิธี การเรียนในห้องและทบทวนบทเรียนอย่างสม่ำเสมอ จึงเป็นหลักใหญ่ที่เด็กนักเรียน ต้องตระหนักให้มั่น และที่สำคัญต้องจัดเวลาให้เป็นและจัดเวลาให้ได้

                          การแก้ไขปัญหาการกวดวิชาควรเป็นวาระสำคัญของกระทรวงศึกษาธิการอีกเรื่อง หนึ่ง เพราะเมื่อวิเคราะห์เหตุผลของการกวดวิชาแล้ว ได้พบคำตอบที่สะท้อนให้เห็นถึงจุดอ่อนของระบบการศึกษาไทย ซึ่งเน้นการแข่งขันและการเอาชนะสูงรวมถึงปัญหาการเรียนการสอนของโรงเรียนในปัจจุบัน ที่ยังไม่ได้มาตรฐานที่ควรเป็น ตลอดจนการเหลื่อมล้ำมาตรฐานของแต่ละโรงเรียน เมื่อพิจารณาในส่วนของประโยชน์ของการกวดวิชาสะท้อนให้เห็นถึงระบบการศึกษา ไทยที่เน้นเรื่องการสอบเป็นสำคัญ โดยพบว่านักเรียนที่เรียนกวดวิชาอยู่ในปัจจุบันจะมีความคาดหวังว่า การกวดวิชาจะช่วยให้ได้เทคนิคในการทำข้อสอบมากขึ้น ช่วยให้เข้าใจในวิชาที่เรียนมากขึ้น ช่วยเพิ่มโอกาสการสอบเข้าศึกษาต่อได้ และได้ใช้เวลาให้เป็นประโยชน์
                        
                         โดยภาพรวมแล้ว การที่ผู้ปกครองนิยมส่งบุตรหลานไปกวดวิชานั้น ได้ตอกย้ำและยืนยันปัญหาการศึกษาของไทยที่มีมาเป็นเวลายาวนาน คือ มีความเหลื่อมล้ำ แตกต่างและมีความไม่เท่าเทียมกัน สะท้อนปัญหาสำคัญของการศึกษาไทย คือ เน้นการเรียนการสอนที่ตัดสินด้วยระบบการสอบสูง มีการแข่งขันมาก และการเรียนการสอนในโรงเรียนยังมีปัญหา โดยเฉพาะในวิชาคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และภาษาอังกฤษ ระบบดังกล่าวนำไปสู่ค่านิยมของการเลือกสถาบันมีชื่อเสียง ทางแก้จึงกลับมาอยู่ที่พื้นฐานหลัก คือการส่งเสริมให้ครูได้พัฒนาการสอนอย่างแท้จริงและมีคุณภาพสูงพร้อมทั้งมี ความสนุกและน่าสนใจ ในขณะเดียวกันรัฐก็จะต้องทำให้ความไม่เท่าเทียมกันทางการศึกษานั้นลดน้อยลง โดยภาพรวมจึงต้องดู 2 แนวทางหลัก คือในส่วนของการกวดวิชา รัฐจะต้องร่วมมือกับเด็ก ผู้ปกครอง และโรงเรียนกวดวิชา ต้องกำหนดเกณฑ์คุณภาพของโรงเรียนกวดวิชา ส่งเสริมเป็นโครงการระยะสั้น เตรียมความพร้อมให้เด็กที่ขาดโอกาสเรียนเสริม และในส่วนของระบบการศึกษาโดยรวมจะต้องปรับระบบการสอบคัดเลือกเข้า มหาวิทยาลัยหรือเข้าศึกษาต่อในระดับ ชั้นต่างๆ ใหม่ รวมถึงการกระจายคุณภาพและโอกาสทางการศึกษาให้กว้างขวางใกล้เคียงกัน นับวันโรงเรียนกวดวิชายิ่งขยายไปทุกระดับการศึกษา มีทั้งโรงเรียนกวดวิชาในระดับอนุบาลเพื่อให้ลูกหลานได้เข้าโรงเรียนประถมดีๆ สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นกระจกที่สะท้อนปัญหาการศึกษาออกมาอย่างชัดเจน แต่ผู้รับผิดชอบยังแก้ปัญหาไม่ได้ อนาคตคงต้องเปิดโรงเรียนกวดวิชาให้กระทรวงเสมามานั่งเรียน จะได้ช่วยกันพัฒนาวิธีการส่งเสริมโรงเรียน ให้มีคุณภาพมากยิ่งขึ้น เพื่อเพิ่มความมั่นใจของนักเรียนและผู้ปกครอง ให้มีความเชื่อถือในระบบการเรียนการสอนที่ยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ

ที่มา : http://thailandtutor.blogspot.com/2014/05/blog-post_6257.html