7 มิ.ย. 2559

องค์ประกอบของระบบสารสนเทศ


1. ฮาร์ดแวร์ ( Hardware ) 
ฮาร์ดแวร์ คือ เครื่องคอมพิวเตอร์และหน่วยประมวลผลต่าง ๆ เป็นองค์ประกอบสำคัญของสารสนเทศ 
2. ซอฟต์แวร์ ( Software ) 
ซอฟต์แวร์ คือ โปรแกรมหรือชุดคำสั่งที่จะสั่งงานให้ฮาร์ดแวร์ทำงานตามที่ต้องการ ซอฟต์แวร์ แบ่งได้เป็น 2 ประเภทคือ 
     2.1). ซอฟต์แวร์ระบบ 
เป็นโปรแกรมที่สร้างขึ้นเพื่อใช้ในการควบคุมการปฏิบัติการของคอมพิวเตอร์ ที่เรียกว่า “ ระบบปฏิบัติการ (Operating System )” ซึ่งระบบปฏิบัติการนี้จะไปควบคุมการทำงานของฮาร์ดแวร์ รวมถึงการจัดสรรอุปกรณ์และทรัพยากรต่าง ๆ ภายในระบบให้ประสานกัน
     2.2). ซอฟต์แวร์ประยุกต์ 
เป็นโปรแกรมที่สร้างขึ้นเพื่อการทำงานเฉพาะอย่างหรือเฉพาะด้าน เช่น ด้านการคำนวณ ด้านการจัดทำเอกสาร เป็นต้น  ปัจจุบันซอฟต์แวร์ได้มีการพัฒนาเจริญก้าวหน้าขึ้นมาก และสามารถหาซื้อได้ตามท้องตลาดทั่วไปเพราะมีราคาไม่สูงมากนัก แต่หากเป็นองค์กรใหญ่ ๆ แล้ว ซอฟต์แวร์ที่มีขายตามท้องตลาด ก็อาจจะทำงานได้ไม่ตรงกับลักษณะงานขององค์กรนั้น ๆ ก็อาจจะต้องจัดซื้อจากบริษัทที่ผลิตซอฟต์แวร์โดยตรง ซึ่งก็จะมีราคาแพง
3. ข้อมูล ( Data )
ข้อมูล คือ ข้อเท็จจริง หรือเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับบุคคล วัตถุหรือสถานที่ ข้อมูลมีความสำคัญอย่างยิ่งเพราะใช้เป็นเครื่องช่วยในการวางแผนงานการบริหารจัดการ ถ้าข้อมูลไม่ดีก็จะก่อผลเสียต่อองค์กรอย่างยิ่ง ดังนั้นข้อมูลจะต้องมีความถูกต้อง มีความเที่ยงตรง สามารถเชื่อถือได้ มีความเป็นปัจจุบัน สามารถตรวจสอบได้ และมีความสมบูรณ์ชัดเจน
4. บุคลากร ( People )
ในที่นี้หมายรวมถึงบุคคลที่เกี่ยวข้องกับงานคอมพิวเตอร์ทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นผู้ใช้ พนักงานคอมพิวเตอร์ ผู้ควบคุมระบบ โปรแกรมเมอร์ นักวิเคราะห์ระบบ จนถึงผู้อำนวยการ ศูนย์คอมพิวเตอร์ล้วนแต่เป็นองค์ประกอบที่สำคัญในความสำเร็จของระบบสารสนเทศทั้งสิ้น
5. ขั้นตอนการปฏิบัติงาน ( Process )
จะต้องมีการวางแผนให้การทำงานเป็นไปตามลำดับขั้นตอนและต่อเนื่องสัมพันธ์กันทั้งบุคลากรและเครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อให้ได้สารสนเทศที่มีความถูกต้องสมบูรณ์


HTML คืออะไร

                   

HTML คืออะไร


               HTML (ย่อมาจาก Hyper Text Markup Language)   เป็นภาษาประเภท Markup Language ที่ใช้ในการสร้างเว็บเพจ   มีแม่แบบมาจากภาษา SGML (Standard Generalized Markup Language) ที่ตัดความสามารถบางส่วนออกไป เพื่อให้สามารถทำความเข้าใจและเรียนรู้ได้ง่าย   ปัจจุบันมีการพัฒนาและกำหนดมาตรฐานโดยองค์กร World Wide Web Consortium (W3C) ภาษา HTML ได้ถูกพัฒนาขึ้นอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ HTML Level 1, HTML 2.0, HTML 3.0, HTML 3.2 และ HTML 4.0    ในปัจจุบัน ทาง W3C ได้ผลักดัน รูปแบบของ HTML แบบใหม่ ที่เรียกว่า XHTML ซึ่งเป็นลักษณะของโครงสร้าง XML แบบหนึ่ง ที่มีหลักเกณฑ์ในการกำหนดโครงสร้างของโปรแกรมที่มีรูปแบบที่มาตรฐานกว่า   มาทดแทนใช้ HTML รุ่น 4.01 ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน

                 HTML มีโครงสร้างการเขียนโดยอาศัย Tag ในการควบคุมการแสดงผลของข้อความ รูปภาพ หรือวัตถุอื่น ๆ แต่ละ Tag อาจจะมีส่วนขยาย เรียกว่า Attribute สําหรับจัดรูปแบบเพิ่มเติม การสร้างเว็บเพจ โดยใช้ภาษา HTML สามารถทำโดยใช้โปรแกรม Text Editor ต่างๆ เช่น Notepad, EditPlus หรือจะอาศัยโปรแกรมที่เป็นเครื่องมือช่วยสร้างเว็บเพจ เช่น Microsoft FrontPage, Dream Weaver ซึ่งอํานวยความสะดวกในการสร้างหน้า HTML ในลักษณะ WYSIWYG (What You See Is What You Get) แต่มีข้อเสียคือ โปรแกรมเหล่านี้มัก generate code ที่เกินความจำเป็นมากเกินไป ทําให้ไฟล์ HTML มีขนาดใหญ่ และแสดงผลช้า ดังนั้นหากเรามีความเข้าใจภาษา HTML จะเป็นประโยชน์ให้เราสามารถแก้ไข code ของเว็บเพจได้ตามความต้องการ และยังสามารถนำ script มาแทรก ตัดต่อ สร้างลูกเล่นสีสันให้กับเว็บเพจของเราได้ การเรียกใช้งานหรือทดสอบการทำงานของเอกสาร HTML จะใช้โปรแกรม Internet Web Browser เช่น Internet Explorer (IE), Mozilla Firefox, Safari, Opera, และ Google Chrome เป็นต้น




Responsive Web Design คืออะไร

                       Responsive Web  คือ เว็บไซต์ที่สามารถรองรับการทำงานบนหน้าจออุปกรณ์เครือข่ายได้อุปกรณ์  เช่น   Desktop Internet ,  Mobile Internet (  ipad ,iphone, android ,  windows mobile อื่น ๆ )  ซึ่งอุปกรณ์เหล่านี้จะมีหน้าจอแตกต่างกันไป ตามขนาดความกว้างของเครื่อง ทำให้หน้าต่างเว็บไซต์ที่ออกแบบให้ดูผ่านหน้าจอคอมพิวเตอร์อย่างเดียว มีปัญหาการทำงานเมื่อใช้งานผ่านอุปกรณ์ที่มีหน้าจอขนาดเล็กว่า เช่น  Mobile Internet Users  อุปกรณ์มือถือ  เพราะเนื่องจากปัจจุบันนี้ การใช้งานผ่าน Mobile Internet  มีการเจริญเติบโตสูง  และมีแนวโน้มที่จะแซง  Desktop Internet Users  ทำให้บุคคลทั่วไปสามารถเข้าชมเว็บไซต์ได้ตลอดเวลา
                      ดังนั้นผู้ที่ต้องการทำเว็บส่วนใหญ่จะต้องคำนึงถึงสิ่งเหล่านี้ด้วย  บางครั้งออกแบบมาเพื่อรองรับการทำงานผ่านหน้าจอคอมพิวเตอร์อย่างเดียว ทำให้ผู้ใช้ที่ใช้อุปกรณ์มือถือ มีการดาวน์โหลด ทำให้เข้าหน้าเว็บไซต์ล่าช้า หรือบ้างอุปกรณ์มือถือไม่รองรับการทำงาน พวก flash ทำให้ไม่สามารถแสดงรายละเอียดอย่างชัดเจน
อดีต : การออกแบบจะทำหลาย ๆ เวอร์ชั่น เพื่อที่จะรองรับการทำงานที่แตกต่างกันไป เช่น เวอร์ชั่นสำหรับอุปกรณ์มือถือ เวอร์ชั่นสำหรับคอมพิวเตอร์ทั่วไป
ปัจจุบัน  Responsive Web Design   : คือแนวคิดการออกแบบแนวใหม่ การออกแบบจะมีการปรับเปลี่ยน  css ที่ใช้ในการทำเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถแสดงผลได้ทุก ๆ อุปกรณ์  ซึ่งจะใช้ url ร่วมกัน แต่การแสดงผลในแต่ละอุปกรณ์แตกต่างกันไป
ข้อดีของ Responsive Web Design
  • สามารถรองรับการแสดงผลได้ทุกหน้าจอ ในรูปแบบที่แตกต่างกันไป  เช่นผ่านทางอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ จะเป็นหน้าจอที่สมบูรณ์แบบ แต่หากผ่านทางอุปกรณ์มือถือ จะมีการเรียงลำดับเมนูลงมาเรื่อย โครงสร้างการออกแบบจะขึ้นอยู่กับผู้พัฒนา
  • เพิ่มความสะดวกสบายสำหรับผู้ใช้งาน  สามารถใช้งานได้โดยผ่าน  url ตัวเดียวกัน โดยไม่ต้องมีการกำหนดเวอร์ชั่นนี้สำหรับอุปกรณ์มือถือเท่านั้น  ซึ่งมีผลดีในด้าน SEO ด้วย
  • การแก้ไขข้อมูล แก้ไขข้อมูลในที่เดียวแสดงผลทุกอุปกรณ์
ข้อเสียของ Responsive Web Design
  • ไม่สามารถรองรับการทำงาน พวก flash หรือพวก Javascript หรือรูปภาพที่มีขนาดใหญ่ได้
  • เนื่องจากอุปกรณ์มือถือแสดงหน้าจอขนาดเล็ก ผู้พัฒนาอาจจะต้องมีการตัดเมนูบางส่วนที่ไม่จำเป็นสำหรับผู้ใช้ ออก
  • ในการออกแบบต้องมีการจัดวางโครงสร้างให้ดี  เช่น  html5 css  ให้เหมาะสม
  • การปรับปรุงโครงสร้าง ภายหลังจะแก้ไขยาก อาจจะทำให้โครงสร้างการแสดงผลบ้างส่วนมีปัญหาได้