7 ก.ค. 2559

เสียงจากเด็กถึงผู้ใหญ่ ถึงเวลา "เปลี่ยน" ระบบการศึกษาไทย


การศึกษาไทยในยุคปัจจุบัน มักเกิดคำถามหลากหลายว่า 
ทุกวันนี้เรามาถูกทางแล้วหรือยัง

     ในเมื่อประเทศไทยลงทุนกับประมาณการศึกษาอย่างก้าวกระโดดในระยะเวลา 10 ปี
โดยมีอัตราส่วนงบประมาณที่เพิ่มขึ้นปีละ 7% หรือ 20,000 ล้านบาท แต่ผลสัมฤทธิ์
ทางการศึกษาของเด็กและเยาวชนกลับสวนทาง จากการทดสอบPISA ในปี 2012 พบว่า
มีนักเรียนไทยเกือบครึ่ง หรือ 49.7% ที่ได้คะแนนในวิชาคณิตศาสตร์อยู่ในระดับ 1
หรือต่ำกว่า ในขณะที่คะแนนมาตรฐานที่ผ่านเกณฑ์ควรอยู่ในระดับ 2 ขึ้นไป
รวมถึงปัญหาทักษะการอ่านที่ยังอยู่ในระดับที่ต่ำซึ่งส่งผลต่อการเรียนรู้ในวิชาอื่นทั้งหมด
     เวทีวิชาการ “อภิวัฒน์การเรียนรู้...สู่จุดเปลี่ยนประเทศไทย” จัดโดยสำนักงาน
ส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน(สสค.)และสำนักงานกองทุนสนับสนุน
การสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.) เมื่อวันที่ 6-8 พฤษภาคม ที่อิมแพคเมืองทองธานี ได้มีเวที
สะท้อนเสียงของเด็กเยาวชนถึงระบบการศึกษาไทยไว้อย่างน่าสนใจ 
 เริ่มจากเด็กในระบบการศึกษาที่มีเส้นทางเดินเข้าสู่รั้วมหาวิทยาลัย น.ส.ธิดารัตน์กุลแก้ว
ร.ร.รัตนโกสินทร์สมโภช บางขุนเทียน
 
สะท้อนว่า การเรียนในระบบสายสามัญทุกวันนี้มี
การแข่งขันที่สูงมาก นำมาซึ่งวงจรอุบาทว์ และค่านิยมเรียนพิเศษ ตรงนี้ไม่ใช่เด็กที่กด
ดันแต่พ่อแม่ก็คอยเป็นกังวล โดยเฉพาะค่าเรียนพิเศษ ที่ต้องเสียเดือนละไม่ต่ำกว่า 2,000-
3,000 บาท พ่อแม่ก็ยอมจ่ายเพื่อให้ลูกมีโอกาสเข้ามหาวิทยาลัยที่ดี เพราะเชื่อว่าจะได้
งานทำที่ดี แต่การเรียนที่เป็น
อยู่เป็นการเรียนเพื่อสอบ เหมือนกับจัดการศึกษาแบบรองเท้าเบอร์เดียวที่บังคับให้ต้อง
เรียนในกรอบไม่สามารถให้คำตอบได้ว่า ใช่สิ่งที่ต้องการหรือไม่ หรือถ้าเดินออกจากเส้น
ทางแล้วก็ต้องหลุดออกจากนอกระบบ จึงเสมือนกรอบที่ปิดกั้นเด็กว่า หากคุณเดิน
ออกนอกกรอบก็เหมือนกับคุณได้เดินออกจากเส้นทางชีวิตไปเลย ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าเศร้า
     อาร์ม ปราชญ์ ปราดเปรื่อง นักเรียนสายกีฬา ร.ร.บางละมุง จ.ชลบุรี เล่าว่า “ผมเป็น
เด็กเรียนไม่เก่งและไม่ชอบกีฬา แต่พอเรียนทั้งสองอย่างควบคู่กันทำให้พบว่าผมเรียน
กีฬาได้ดีกว่า จึงไม่เลือกเรียนสายสามัญ  ถ้าถามว่าอยากได้การศึกษาแบบไหน
ขอบอกเลยว่า อยากได้การศึกษาที่เยาวชนต้องการสามารถตอบสนองตามความถนัด
ในแต่ละบุคคล เพราะคนเรามีความถนัดต่างกัน ไม่ใช่ถูกยัดเยียดให้เรียนเหมือนกัน
ทั้งที่เราแตกต่างกัน”
     ขณะที่ เบียร์” ชิดดนัย ศรีเที่ยงตรง เด็กนอกระบบ จ.ขอนแก่น เล่าถึงแง่มุมที่
น่าสนใจว่าไม่อยากให้มองว่า เด็กแว้นนั้นไม่ดี การที่เราแว้นไปวันๆ ก็เนื่องจากต้อง
การรวมกลุ่มกันเพื่อปรึกษาปัญหาในครอบครัวก็เท่านั้น เพราะที่ผ่านมาครอบครัว
ไม่สามารถให้คำปรึกษาอะไรพวกเราได้เลยถ้าหากสังคมให้โอกาสได้มีกิจกรรมทำ 
เช่น ซ่อมรถ ทำร้านขนม คงไม่คิดที่จะแว้นซิ่งรถอย่างเดียวแน่นอน
      “ที่บอกว่า พวกผมไม่รู้จักร่ำเรียน ผมอยากบอกว่าเราถูกปิดกั้นจากสังคมที่มอง
ว่าเป็นเด็กไม่ดีอยากขอสังคมให้โอกาส และการเรียนฟรี 15 ปี มันฟรีเฉพาะหนังสือ
แต่ค่าเทอมก็ต้องออกเองเมื่อไม่มีเงิน สุดท้ายก็ไม่ได้เรียน กลับไปสู่วังวนแบบเดิมๆอีก”
 รศ.ดร.สมพงษ์  จิตระดับ คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวสะท้อนมุม
มองที่ได้จากเสียงเด็กและเยาวชนว่า จากการทำโพลที่สสค.ร่วมกับมหาวิทยาลัย
อัสสัมชัญในเดือนเมษายนที่ผ่านมาพบว่า เด็กและเยาวชน 53% สะท้อนการเรียน
การสอนในปัจจุบันว่าเป็นการสอนที่ เริ่มต้นจากความรู้ในหนังสือและจบลงที่ข้อสอบ
เด็กไทยเรียนหนักมากที่สุดในโลกแต่ไม่สามารถนำความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวันได้
และที่น่าสนใจเด็กอยากตั้งคำถามถึงครูยุคนี้ว่า ทำไมสอนในห้องเรียนไม่รู้เรื่อง
แต่สอนพิเศษกลับรู้เรื่องหรือ ทำไมครูไม่หาวิธีการสอนที่สนุกไม่น่าเบื่อ หรือทำไม
สอนต้องอ่านตามหนังสือ การเรียนรู้ของเด็กไทยจึงไม่มีความสุขกับการเรียนและยัง
มีปัญหาโอกาสและมาตรฐานการศึกษาของไทยไม่เท่าเทียมกัน
เสียงสะท้อนของเด็กและเยาวชนไทยที่มีต่อระบบการศึกษา จึงเป็น “คำถาม”
ถึงระบบการจัดการศึกษา
    ดร.กฤษณพงศ์ กีรติกร รองประธานกรรมการส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพ
เยาวชน
 
กล่าวไว้ในช่วงท้ายของเวทีวิชาการนี้ว่า มีตัวชี้วัดสำคัญเพื่อสะท้อนประสิทธิ
ภาพการจัดการศึกษาที่ทั่วโลกให้การยอมรับอยู่ 4 ด้าน ซึ่งพบว่าประเทศไทยยังมีปัญหา
ทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ 1.ทรัพยากรด้านการศึกษาไทยลงทุนด้านการศึกษาเป็นอันดับ 2 ของ
โลก แต่กลับลงทุนพัฒนาผู้เรียนเพียง 4.5% 2. ปัญหาเด็กด้อยโอกาสที่ทำให้ไทยติด
อันดับรั้งท้ายทางการศึกษาเพราะมีเด็กที่ยังไม่เข้าถึงการศึกษาภาคบังคับถึง10%
และเด็กที่หลุดออกจากระบบการศึกษา 3-5 ล้านคนซึ่งกระทบต่ออัตราการขยายตัว
ทางเศรษฐกิจ
ของประเทศไทยสูงถึง3%ต่อปี  3.ผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาของเด็ก
ไทยเกือบครึ่งของประเทศก็อยู่ในระดับต่ำกว่ามาตรฐาน  และ 4.ผลลัพท์ด้านสังคม
และเศรษฐกิจ ที่คุณภาพแรงงานไทย 80% ยังเป็นแรงงานไร้ฝีมือ  
    สำหรับข้อเสนอถึงระบบบริหารจัดการใหม่ซึ่งได้จากการสังเคราะห์ความรู้จาก
ประเทศที่ประสบผลสำเร็จทางการศึกษา และจากเวทีระดมความเห็นของทุกภาค
ส่วนในสังคมเพื่อเป็นคานงัดสำคัญในการยกระดับคุณภาพการศึกษา ประกอบด้วย
 1 การยกระดับคุณภาพครู เพื่อสร้างจุดเปลี่ยนเรียนรู้ในห้องเรียนกระบวนการผลิต
ครูต้องมีการควบคุมคุณภาพและการพัฒนาครูที่ต้องมีมาตรการสนับสนุน
2 การลดช่องว่างคุณภาพโรงเรียน เพื่อสร้างโอกาสให้เด็กในทุกพื้นที่เข้าถึงโรงเรียน
ดีมีคุณภาพ ด้วยการปลดล็อกกฎระเบียบเพื่อทำให้เกิดการกระจายอำนาจให้อิสระ
การบริหารจัดการโรงเรียนบนความรับผิดชอบต่อการตรวจสอบผลงาน
ขยายผลระบบดูแลช่วยเหลือเด็กด้อยโอกาส ผ่านระบบประกบตัวดูแลเด็กด้อย
โอกาสในโรงเรียนและระบบฐานข้อมูลเด็กด้อยโอกาสเพื่อวางทิศทางการดูแลในทุกพื้นที่
     4 สวัสดิการหนังสือสำหรับเด็กแรกเกิดและส่งเสริมให้วัฒนธรรมการอ่าน 5 ปรับปรุง
หลักสูตร กระบวนการเรียนการสอนเพื่อปลูกฝังทัศนคติและทักษะการทำงานที่ดี 
การศึกษาที่แท้จริงต้องนำไปสู่การมีงานทำจึงต้องสร้างกำลังคนรุ่นใหม่ที่พร้อมต่อโลก
การทำงาน ซึ่งยุทธศาสตร์สำคัญที่จะสำเร็จได้ต้องเริ่มจากการปฏิรูปการเรียนรู้ในระดับ
พื้นที่เพื่อให้ทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วมในลักษณะ“จังหวัดจัดการตนเอง”ขณะนี้มี 10
จังหวัดต้นแบบจากสสค.ที่ลุกขึ้นมาปฏิรูปการศึกษาแล้ว 10 จังหวัด ซึ่งจะเป็นการพัฒนา
ที่ตอบโจทย์ความต้องการในพื้นที่และนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงเชิงระบบบริหารจัดการ
     สิ่งสำคัญคือ การปฏิรูประบบการศึกษาไทยครั้งใหม่ต้องไม่ผลักภาระให้เป็นหน้าที่ของ
ใครฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งแต่ควรเป็นหน้าที่ของทุกฝ่ายที่ต้องร่วมมือกัน เพื่อให้ถึง “จุดเปลี่ยน” จากที่เคยเป็นมา 
ที่มา : http://seminar.qlf.or.th/Archive/View/32